กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแบบองค์รวม (Smart Hypertension Care)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีคนจำนวนมากเป็นโรคนี้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากสถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของระบบ HoXp โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ปี 2557 – 2561 มีจำนวน 3,966, 4,2044,691 5,67 และ 6,136 รายตามลำดับ และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ปี 2557 – 2561 มีร้อยละ 10.39 9.98 18.04 31.24 และ 36.74 ตามลำดับ (HDC, 2562) ผู้ป่วยเกิดภาวะ Stroke HoXp ปี 2557 – 2561 มีจำนวน 206, 233, 344, 400 และ 490 ราย ตามลำดับ
การที่ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลมีระดับความดันโลหิตสูง ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ และเกิด Stroke มีสาเหตุเกิดจากการที่ผู้ขาดยาหรือรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะ White-Coat Hypertension (WCH) และ Masked Hypertension (MH) ซึ่งอาจจะทำให้แพทย์ผู้ดูแลตัดสินใจให้การรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ระวังในการติดตามประเมินผู้ป่วยอย่างรอบครอบ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตฉับพลันส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะสุขภาพคุณภาพชีวิต รวมทั้งการสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการักษาพยาบาลที่สูงทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และองค์กรต้นสังกัด
เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพระบบการบริการสุขภาพ สร้างความตระหนักในการประเมินภาวะสุขภาพแก่ผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้ในระยะยาว รวมทั้งลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ดังนั้นทีมผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จึงเป็นเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงดำเนินการจัดโครงการการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแบบองค์รวม (Smart Hypertension Care)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้
2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมการประสานงานบุคลากรทีมสหวิชาชีพและวางแผน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมการประสานงานบุคลากรทีมสหวิชาชีพและวางแผน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 10 คน  = 250 บาท รวม 250 บาท (สองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2563 ถึง 20 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าตอบแทนวิทยากร ๖๐๐ บาท x 6 ช.ม.  = 3,600 บาท -  ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 1 มื้อ x 60 คน = 3,000 บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 60 คน = 3,000 บาท -  ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม = 2,000 บาท รวม  11,600บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันหกร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2563 ถึง 27 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 3 จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านและเครือข่ายติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านและเครือข่ายติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทน อสม. ลงเยี่ยมบ้าน 50 บาท x 25 คน x 1 ช.ม.
      x 12 ครั้ง  = 15,000 บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตามตัว(ABPM) 5,000 บาท
      x 1 เครื่อง = 5,000 บาท รวม 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2563 ถึง 4 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 35 คน x 1๒ ครั้ง = 10,500 บาท รวม 10,500 บาท (หนึ่งหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กันยายน 2563 ถึง 7 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ และมีการพัฒนาคุณภาพระบบการบริการสุขภาพอย่างเป็นระบบ สร้างความตระหนักในการประเมินภาวะสุขภาพแก่ผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้ในระยะยาว รวมทั้งลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้


>