กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแบบองค์รวม (Smart Hypertension Care)
รหัสโครงการ 63-L6961-2-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 15 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกิรณา อรุณแสงสด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีคนจำนวนมากเป็นโรคนี้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากสถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของระบบ HoXp โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ปี 2557 – 2561 มีจำนวน 3,966, 4,2044,691 5,67 และ 6,136 รายตามลำดับ และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ปี 2557 – 2561 มีร้อยละ 10.39 9.98 18.04 31.24 และ 36.74 ตามลำดับ (HDC, 2562) ผู้ป่วยเกิดภาวะ Stroke HoXp ปี 2557 – 2561 มีจำนวน 206, 233, 344, 400 และ 490 ราย ตามลำดับ การที่ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลมีระดับความดันโลหิตสูง ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ และเกิด Stroke มีสาเหตุเกิดจากการที่ผู้ขาดยาหรือรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะ White-Coat Hypertension (WCH) และ Masked Hypertension (MH) ซึ่งอาจจะทำให้แพทย์ผู้ดูแลตัดสินใจให้การรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ระวังในการติดตามประเมินผู้ป่วยอย่างรอบครอบ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตฉับพลันส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะสุขภาพคุณภาพชีวิต รวมทั้งการสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการักษาพยาบาลที่สูงทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และองค์กรต้นสังกัด เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพระบบการบริการสุขภาพ สร้างความตระหนักในการประเมินภาวะสุขภาพแก่ผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้ในระยะยาว รวมทั้งลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ดังนั้นทีมผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จึงเป็นเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงดำเนินการจัดโครงการการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแบบองค์รวม (Smart Hypertension Care)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้ารับการอบรม (กลุ่มเสี่ยง)สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์
ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาต่อเนื่อง

ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้ารับการอบรม(กลุ่มเสี่ยง)ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,350.00 4 42,350.00
20 ก.ค. 63 ประชุมการประสานงานบุคลากรทีมสหวิชาชีพและวางแผน 0 250.00 250.00
27 ก.ค. 63 จัดอบรมให้ความรู้ 0 11,600.00 11,600.00
27 ก.ค. 63 - 4 ก.ย. 63 จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านและเครือข่ายติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่อง 0 20,000.00 20,000.00
7 ก.ย. 63 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 10,500.00 10,500.00
  1. ประสานบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพวางแผนการดำเนินงาน
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ และเปิดรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
  4. จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านประชุมทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่อง
  5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีมสหสาขาวิชาชีพ
  6. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ และมีการพัฒนาคุณภาพระบบการบริการสุขภาพอย่างเป็นระบบ สร้างความตระหนักในการประเมินภาวะสุขภาพแก่ผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้ในระยะยาว รวมทั้งลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 00:00 น.