กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิตำบลปุลากง

1.นายสมาน กาแลซา
2.นางสาวดารียะ มะยูโซะ
3.นางสาวยาวาเฮ มะมิง
4.นางสาวรุสนี สะเตาะ
5.นางสาวซากีน๊ะ กาแลซา

ตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

20.00

รัฐบาลได้กำหนดการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาฌศรษฐกิจพอเพียงของทุกภาคส่วน โดยมียุทศาสตร์ที่ต้องบูรณาการการปฏิบัติงาน หลักคือ ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท เน้นพื้นที่เป็นหลัก โดยบูรณาการทำงานในพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริง ซึ่งจะดำเนินการร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของตนเองและนำไปสู่การจัดทำแผนชุมชนหรือแผนพัฒนาเชิงพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

20.00 40.00

1) เพื่อการพัฒนาศักยภาพกลุ่มองค์กร
2) เพื่ออบรมแผนการเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ของชุมชน
3) เพื่อเรียนรู้พื้นที่รูปธรรมและเชื่อโยงแผนธุรกิจชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
4) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน ให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ ลดค่าใช้จ่าย
5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพิ่มอำนาจการต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน
6) เพื่อเรียนรู้และจัดทำชุดความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแผนงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแผนงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแผนงานโครงการ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และตัวแทนเกษตรกร จำนวน 20 คน
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
2.ค่าอาหารว่าง 20 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
2. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2564 ถึง 10 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดคณะทำงานด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยในชุมชน
2.เกิดแผนงานด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และการบริโภคอาหารปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และการบริโภคอาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และการบริโภคอาหารปลอดภัย ให้แก่กลุ่มเกษตรกรในชุมชน จำนวน 80 คน
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่าง 80 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 80 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
4. ค่าไวนิลโครงการ เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าตอนแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
6. ค่าถังหมัก ขนาด 200 ลิตร จำนวน 5 ใบ ใบละ 700 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
7. ค่ากากนัำตาล ขนาด 1 ลิตร ราคาลิตรละ 150 บาท จำนวน 20 ลิตร เป็นเงิน 3,000 บาท
8. ค่า EM จำนวน ขนาด 1 ลิตร ราคาลิตรละ 200 บาท จำนวน 5 ลิตร เป็นเงิน 1,000 บาท
9. วัสดุอื่นๆ (สับปรด ฟักทอง ผักต่างๆ ) เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2564 ถึง 29 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดกลุ่มเกษตรกรในการเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยในชุมชน
2.เกิดผลผลิดด้านการเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร
1. ค่าจัดทำเอกสารบันทึกผลการติดตามงานโครงการของคณะกรรมการ 20 คน คนละ 1 ชุด ชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าตอบแทนคณะกรรมการติดตามงานโครงการ 4 ครั้ง ครั้งละ 1,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดรายงานผลการติดตามงานโครงการของคณะกรรมการการ จำนวน 20 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมรายงานผลการดำเนินงานและปิดโครงการใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมรายงานผลการดำเนินงานและปิดโครงการใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมรายงานผลการดำเนินงานและปิดโครงการใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และตัวแทนเกษตรกร จำนวน 20 คน
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
2.ค่าอาหารว่าง 20 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
3. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
4. ค่าจัดทำเอกสารรายงานปิดโครงการ จำนวน 20 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงินเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2564 ถึง 25 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดเป็นเอกสารผลการดำเนินงานโครงการใส่ใจครอบครัว รั้วป้องกันโรค เลือกบริโภคปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เชิงปริมาณ
กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ไม่น้อยกว่า 30 คนมีความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์
เชิงคุณภาพ
ชุมชนมีอาชีพรองรับอย่างยั่งยืน


>