กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี ชุมชนมีสุข ปลอดขยะตำบลปานัน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ตำบลปานัน

นางสาวอามีรา มะยี โทร 083-446-3152
นางสาวนาดียา แวดือราแม โทร 098-080-7053
นาวสาวอาดีละห์ แวสะมะแอ โทร 088-946-8819
นางสาวซารีนา ลาเตะ โทร 064-615-3112
นางสาวฮาวา สุพพัต โทร 080-137-4246

ชุมชนตำบลปานัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

60.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

70.00
3 ร้อยละคนในชุมชนขาดความรู้การกำจัดและจัดการขยะที่ถูกวิธี มีการกำจัดและจัดการขยะผิดวิธี

 

60.00

ตำบลปานัน เป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ลักษณะการตั้งถิ่นบ้านเรือนของครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ใกล้เคียงกันมีครัวเรือนตั้งอยู่ใกล้ ๆ กันตามข้างริมถนนตลอดทั้งหมู่บ้านแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านบาโง และหมู่ที่ 2 บ้านปานัน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพรอง
ปัญหาขยะในชุมชน ครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ผิดวิธี ขยะในชุมชนอย่างน้อยร้อยละ ุ60 ของครัวเรือนในชุมชน ระดับปัญหาค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง มีขยะครัวเรือนและขยะที่มีการทิ้งริมถนน ทำให้ชุมชนไม่สะอาดมีความตระหนักถึงปัญหา เพราะสังคมสมัยใหม่เข้ามาทำให้มีการใช้วัสดุที่เป็นขยะมากขึ้น และไม่มีกระบวนการจัดเก็บขยะที่ถูกต้อง ขยะมูลฝอย เกิดจากการไม่รู้จักการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ขาดวินัยของคนในหมู่บ้าน ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ขาดการบริหารจัดการที่ดี การแก้ปัญหาจะไม่ยาก หากคนในชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ถึงวิธีคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะอย่างถูกวิธี
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะในชุมชน คือ
1. ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้น ริมถนน ข้างทางหรือแหล่งน้ำ
2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายชั้น และการซื้อสินค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง ทำให้มีขยะปริมาณมาก
3. การเก็บและทำลาย หรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีขยะตกค้าง กองหมักหมม และส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณจนก่อปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
4. คนในชุมชนขาดความรู้การกำจัดและจัดการขยะที่ถูกวิธี มีการกำจัดและจัดการขยะผิดวิธีร้อยละ 60
ผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม คือ
1. แหล่งพาหะนําโรค เกิดจากการกองขยะบนพื้น ทําให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและ แมลงวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นพาหะนําโรคติดต่อ ทําให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยของ ประชาชน
2. ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เพราะการเผาขยะทำให้เกิดควันและขี้เถ้า การหมักหมมและเน่าสลายของขยะ จะก่อให้เกิดก๊าซพิษและกลิ่นเหม็น บางครั้งการเผาขยะตามข้างทางอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่ขับขี่รถผ่าน
3. ทำให้สิ่งแวดล้อมไม่มีความสวยงาม สกปรก ไม่น่ามอง
ดังนั้นทีมบัณฑิตอาสา ตำบลปานันจึงจัดทำโครงการสุขภาพดี ชุมชนมีสุข ปลอดขยะตำบลปานัน ปีงบประมาณ 2564 เพื่อเป็นการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

60.00 30.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

70.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะครัวเรือน กำจัดขยะต้นทาง

 

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้สำหรับกลุ่มแม่บ้านเรื่องการจัดการขยะภายในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้สำหรับกลุ่มแม่บ้านเรื่องการจัดการขยะภายในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.มีการสำรวจและคัดกลุ่มแม่บ้านในเรื่องการจัดการขยะ และการคัดแยกขยะ ภายในครัวเรือน
2.อบรมให้ความรู้สำหรับกลุ่มแม่บ้านให้รู้จักการคัดแยกขยะในครัวเรือน
3.ให้กลุ่มแม่บ้านแต่ละครัวเรือน มีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
งบประมาณ
1.ค่าอาหารเที่ยง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3500 บาท
2.ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3500 บาท
3.ค่าวิทยากรในการบรรยาย จำนวน 2 คนๆ ละ 400 บาท (ต่อชั่วโมง) จำนวน 6 ชม. เป็นเงิน 4800 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีผู้เข้าร่วม/กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน
  2. ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการแยกขยะ 3.ชุมชนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12700.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมและสาธิตการแปรรูปขยะเปียกให้เป็นปุ๋ยหมัก

ชื่อกิจกรรม
อบรมและสาธิตการแปรรูปขยะเปียกให้เป็นปุ๋ยหมัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.มีการอบรมกลุ่มแม่บ้าน ในเรื่องการทำปุ๋ยหมักภายในครัวเรือน
2.สอนและสาธิตการทำปุ๋ยหมักให้กับกลุ่มแม่บ้าน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน1 มื้อ เป็นเงิน 1750 บาท
2.ค่าอาหารเที่ยงพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน1 มื้อ เป็นเงิน 3500 บาท
3.ถังพลาสติก ขนาด 5 ลิตร จำนวน 70 ใบๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1400 บาท
4.กากน้ำตาล 20 ลิตร จำนวน 2 ถัง เป็นเงิน 600 บาท 5.ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน3ชม.ๆละ 400 บ. เป็นเงิน 1200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก
2.เพื่อเรียนรู้การจัดการขยะในครัวเรือน
3.เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8450.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การจัดการขยะในชุมชนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน จำนวน3ครั้งๆละ1,400 บาทเป็นเงิน4200 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปโครงการติดตามและประเมิน

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการติดตามและประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปโครงการเป็นรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการเป็นรูปเล่ม พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การลดมลภาวะโลกร้อนได้
2. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง


>