กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านบุโบย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

โรงเรียนบ้านบุโบย

1. นางเพ็ญศรีตูแวมะ ผู้ประสานงาน คนที่ 1

2. นายเสรีอทิณโน ผู้ประสานงาน คนที่ 2

3. นางยูรีตาดุลยาภรณ์

4. นางสาวมูณีเราะ หมาดง๊ะ

5. นางสาวนุสรีหนา จิตรหลัง

โรงเรียนบ้านบุโบย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย เป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคนซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไป สู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในปี 2563เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบุโบยจำนวน 162คน พบว่ามีเด็กผอมจำนวน 14 คน เด็กเตี้ยจำนวน 14คน เด็กเริ่มอ้วนและอ้วนจำนวน 18คนเด็กผอมและเตี้ยจำนวน 26คน เด็กอ้วนและเตี้ย จำนวน 29คน ถือได้ว่าเป็นภาวะที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เกินเกณฑ์ หรือกลุ่มเสี่ยง นับว่าเป็นปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวนทั้งหมด101คน คิดเป็นร้อยละ62.35จากการสอบถามเด็กดังกล่าวพบว่า เด็กมาโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเด็กรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านบุโบยจึงได้จัดทำโครงการ“โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านบุโบย” เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กและติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขและขณะนี้ได้มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ

ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและเด็ก มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
  1. ร้อยละ 80 ของครู นักเรียน และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก

  2. เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ  มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 90

  3. เด็กที่มาภาวะทุพโภชนาการทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
  1. ร้อยละ 100เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์,เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด

  2. เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ

  3. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ

  4. เด็กที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100

0.00
4 เด็กมีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตนในการป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนแกนนำสามารถปฏิบัติหน้าที่ตรวจสุขภาพของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ

  2. ร้อยละ  90  มีความรู้เรื่องสุขภาพ  และการรู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 101
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวัง/ติดตาม

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวัง/ติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อยเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก

เป้าหมาย- เด็กนักเรียนจำนวน 101 คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 5-16 ปี
  • บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

  • จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ

งบประมาณ

-จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนักจำนวน 1 เครื่องราคาเครื่องละ 1,500บาทเป็นเงิน 1,500บาท

  • ค่าถ่ายเอกสารสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองจำนวน 101ชุด ชุดละ25 บาทเป็นเงิน2,525บาท

รวมเป็นเงิน 4,025บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบถึงข้อมูลเด็กที่มีภาวะต่ำกว่าโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4025.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม/ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรม/ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 5-16 ปี แก่ครูนักเรียน และแม่ครัว

เป้าหมาย

  • ครู จำนวน19คน

  • เด็กนักเรียน จำนวน 101คน

  • แม่ครัวจำนวน1คน

รายละเอียดกิจกรรม

อบรมให้ความรู้ เรื่อง

  • การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียน

  • ความสำคัญของอาหาร

  • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก

  • โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ

กิจกรรมย่อยจัดหาอาหารเช้าให้กับนักเรียน

เป้าหมายเด็กที่มีภาวะโภชนาการ จำนวน101 คน

รายละเอียดกิจกรรม

จัดทำ/หาอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนให้นักเรียนได้รับประทานอย่างต่อเนื่องให้แก่นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 101คนเป็นเวลา 20 วัน

ติดตามผลการบริโภคอาหารเช้าของเด็กไปยังผู้ปกครอง

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 101 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,525บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์เอกสารประกอบการอบรมเป็นเงิน 550บาท

รวมเป็นเงิน 3,675บาท

จัดทำ/ซื้ออาหารเช้าให้นักเรียน วันละ 15บาท/วัน/คน จำนวน101คนเป็นเวลา20วันเป็นเงิน 30,300บาท

รวมเป็นเงิน30,300บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีความรู้เกี่ยวกับโภชาการมากยิ่งขึ้น และรู้ถึงหลักการกินอย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33975.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตาม

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อยติดตามเด็กที่มีภาวะโภชนาการ

เป้าหมาย - เด็กที่มีภาวะโภชนาการ     จำนวน  101 คน

รายละเอียดกิจกรรม -เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง

  • ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักโภชนาการและครู

ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลงเยี่ยมบ้าน มีการวัดส่วนสูง ช่างน้ำหนักเพื่อเปรียบเทียบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 คัดเลือกนักเรียนแกนนำ

เป้าหมาย

-นักเรียนแกนนำจำนวน20คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • โรงเรียนคัดเลือกนักเรียนแกนนำเพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ

กิจกรรมย่อยอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพและการรู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัย และรณรงค์ให้นักเรียนทุกคนป้องกันรักษาสุขภาพร่างกาย

เป้าหมาย

-นักเรียนแกนนำจำนวน20คน

-นักเรียนโรงเรียนบ้านบุโบย 142คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • ครูอนามัยจัดอบรมนักเรียนแกนนำเพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ

กิจกรรมย่อย บันทึกการตรวจสุขภาพประจำวัน

เป้าหมาย

-นักเรียนจำนวน162คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • ตรวจสุขภาพอนามัยและตรวจสอบโดยนักเรียนแกนนำกรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพอนามัยครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครอง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษา

กิจกรรมย่อย จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำความสะอาดและป้องกันเชื้อโรคแก่นักเรียน

เป้าหมาย

-นักเรียนจำนวน162คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำความสะอาดและป้องกันเชื้อโรค ไวรัสโคโรน่า 2019 ให้แก่นักเรียน

งบประมาณ

สบู่เหลว /เจลล้างมือและแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดเป็นเงิน1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 มากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  • จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มรายงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม

2. ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

3. เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

4. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพอนามัยมีจำนวนลดลงและได้รับการรักษาที่ถูกวิธี

5.เด็กมีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตนในการป้องกันโรคได้อย่างเหมะสม ปลอดภัย


>