กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยบ้านหนองกางเขน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

รพ.สต.หมู่ที่ 4 บ้านหนองกางเขน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขนและพื้นที่หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่4, 7, 8, 9, 10 และ 11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ

91.00

เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีการเติบโตร้องละ 80ของผู้ใหญ่ เป็นวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในปี2561 พบเด็กไทยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าถึง 8,006 คน จำนวนนี้มีเพียง 2,440 คน หรือร้อยละ 30.48 ที่สามารถติดตามให้เข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการ อีกร้อยละ 19.19 อยู่ระหว่างการติดตาม และร้อยละ 50.85 ไม่สามารถติดตามได้ และในจำนวนที่เข้ารับการกระตุ้นยังมีในส่วนที่เข้ารับการกระตุ้นไม่ครบเกณฑ์ ถึง 1,160 คน ปัจจัยที่ทำให้เด็กไม่ได้มารับการกระตุ้นพัฒนาการ มีหลายปัจจัย เช่น บุคลากรขาดทักษะการสื่อสารที่ชัดเจนกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือพ่อแม่ผู้ปกครองเองมีปัญหาทางเศรษฐกิจ มีทัศนคติต่อการเลี้ยงดูลูก ที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเด็กเข้ารับการพัฒนา หรือด้านระบบที่ต้องเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้เด็กวัยดังกล่าวมีพัฒนาการที่สมวัย และสามารถเข้ารับการติดตามการกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องได้ในกรณีที่พบความล่าช้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้เด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

ร้อยละเด็กเล็ก (0-5 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

91.00 95.00

1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และสามารถทดสอบพัฒนาการของเด็กในพื้นที่
2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 203
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ตรวจพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางแม่นางจำนวน 15,240 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันสองร้อยสี่สิบบาทถ้วน- )ตามรายละเอียด ดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30คน คนละ 80บาท/มื้อจำนวน 1มื้อ เป็นเงิน 2,400บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30คน คนละ 25บาท/มื้อ
จำนวน2 มื้อเป็นเงิน1,500บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 3ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600บาท เป็นเงิน3,600บาท 4. ค่าวัสดุโครงการ จำนวน 30 ชุด ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 5. ชุดตรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual)จำนวน 6 ชุด ชุดละ 990 บาท เป็นเงิน 5,940 บาท หมายเหตุ ทุกรายการเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการ
  2. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,240.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการ
2. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม


>