กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

โรงพยาบาลบางใหญ่

นส.จรรยา ศิริประกอบ
นางสุทิน เอมเสน
นส.ปภาภรณ์ บุญธรรม
น.ส.รุ่งนภา แจ้งสุสุข

พื้นที่ตำบลบางม่วงหมู่ 1, หมู่ 3 ถึงหมู่ 15 เขตเทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกิน 50 ต่อแสนประชากร

 

59.11

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของประเทศนานมาก พบว่ามีการระบาดทั่วไปทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทโดยเฉพาะในเขตปริมณฑลที่มีประชากรหนาแน่น จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 27 ธันวาคม 2561 มีผู้ป่วยสะสม 81,489 ราย คิดเป็นเป็นอัตราป่วย 124.55 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 107 คน คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.13 เครือข่ายบริการที่ 4 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 8,004 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 150.99 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 25 ราย คิดเป็นอัตรา ร้อยละ 0.31 จังหวัดนนทบุรีป่วยอันดับที่ 14 ของประเทศ เป็นอันดับที่ 2 ของเขตเครือข่ายบริการที่ 4 (184.48 ต่อแสนประชากร) จากการรายงาน 506 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี 1 มกราคม - 24 ธันวาคม 2561 ได้รับรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 2,320 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 194.08 ต่อแสนประชากร มีรายงานเสียชีวิต 7 ราย อัตราตายต่อแสนประชากรเท่ากับ 0.59 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.30 อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คืออำเภอไทรน้อย อัตราป่วยเท่ากับ 285.85 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมือง อำเภอบางใหญ่ อำเภอปากเกร็ด และอำเภอบางกรวย อัตราป่วยเท่ากับ 275.08 , 209.91, 165.50, 150.70 และ79.42 ตามลำดับ สำหรับผู้ป่วยเสียชีวิต พบใน 3 อำเภอ คือ อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อย ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยตายเท่ากับ 4, 2 และ 1 ราย คิดเป็นอัตราตายต่อแสนประชากรเท่ากับ 1.44 1.51 และ 1.60 อัตราป่วยตายร้อยละ ร้อยละ 0.92 0.61 และ 0.58 ตามลำดับ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

59.11 50.00
2 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00 80.00
3 เพื่อลดการใช้สารเคมีในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสิ่งแวดล้อม

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนในพื้นที่และประชาชนแฝง (หลังคาเรือน) 9,500

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม การป้องกันการระบาดของโรค ไข้ เลือดออก (ก่อนการเกิดโรค)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม การป้องกันการระบาดของโรค ไข้ เลือดออก (ก่อนการเกิดโรค)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำชนิดผง จำนวน 60 กระป๋อง ๆ ละ  4,500 บาท -ค่าจ้างเหมารถออกจ่ายจุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำ สำหรับการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ครั้ง
    ครั้งละ 3 คัน คันละ 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
276300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 276,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2 .ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสิ่งแวดล้อม


>