กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาพฤติกรรมโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2551 พบว่า อัตราตายต่อแสนประชากร จากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานเท่ากับ 3.9, 21.2, 20.8 และ 12.2เรียงตามลำดับส่วนอัตราป่วยในต่อแสนประชากรด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรค หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคเบาหวาน เท่ากับ 860.53, 185.72, 216.58 และ 675.7 ตามลำดับ
จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขออัตราการป่วยและอัตราการตายของประชากรในเขตรับผิดชอบ ปี ๒๕๖1 พบอัตราป่วยโรคเบาหวาน ๒,๗๐๓.๗๐ ต่อแสนประชากร โรคความดันโลหิตสูง อัตราป่วย ๙,๐๗๔.๐๗และอัตราตายโรคหัวใจและหลอดเลือด๑๓๔.๙๕ ต่อแสนประชากรโรคมะเร็ง อัตราตาย ๓๓.๗๔ ต่อแสนประชากรและในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 274 คน สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 33.24และจากการคัดกรองสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖3 ( ตุลาคม ๒๕๖2 - ธันวาคม ๒๕๖2)พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานร้อยละ ๒๓.๘๘ และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๖.๘๖ และพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 117 คน สามารถควบคุมน้ำตาลได้จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 34.19 และในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 361 คน สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 47.37
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขอ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการพัฒนาพฤติกรรม โรคเบาหวาน - ความดันโลหิตสูงง” ขึ้นเพื่อส่งเสริม /สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายมีความแข็งแรงทั้งกาย ใจ สังคมจิตวิญญาณ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนในการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า ทั้งสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (อัตราควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น)

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาปรับพฤติกรรมในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง ใช้ยาได้อย่างปลอดภัย ถูกวิธี และลดการพึ่งพาการใช้ยาที่เกินความจำเป็น

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถนำความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรค  การตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การตรวจเท้าและการดูแลเท้า มาใช้ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม

0.00
3 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระกับน้ำตาลได้มากกว่าร้อยละ 40

0.00
4 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับความดันโลหิตได้มากกว่าร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/08/2020

กำหนดเสร็จ 28/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม วิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ ค่าวิทยากร  จำนวน 70 คน คนละ  1 มื้อ มื้อละ ๖0 บาท จำนวน 2 วัน  เป็นเงิน  8,400 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม วิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ  จำนวน 70 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 2๕ บาท จำนวน  2 วัน   เป็นเงิน   7,000  บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร วันที่ 27  สิงหาคม 2563 จำนวน  2 คนๆละ จำนวน 3 ชม. x  600 บาท/วัน   เป็นเงิน  3,600  บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร วันที่ 28 สิงหาคม 2563 จำนวน 2 คนๆละ จำนวน 3 ชม. x 600 บาท/วัน เป็นเงิน 3,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 สิงหาคม 2563 ถึง 28 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรคการตรวจสุขภาพด้วยตนเองการรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การตรวจเท้าและการดูแลเท้าได้ถูกต้องปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
2.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถนำความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรคการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การตรวจเท้าและการดูแลเท้า มาใช้ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระกับน้ำตาลได้มากกว่าร้อยละ 40
4.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับความดันโลหิตได้มากกว่าร้อยละ 50


>