กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสาธารณสุขในหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดถึง 5ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจำปาดง ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

นายบุญชงบังพะจาร

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจำปาดง ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการดำเนินงานด้านทันตสาธารณสุขมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมและป้องกันโรคเป็นสำคัญเนื่องจากการบริการใช้ต้นทุนน้อยกว่าด้านการรักษาและฟื้นฟูแต่จากข้อเท็จจริงของระบบสาธารณสุขไทยบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการด้านทันตสาธารณสุขยังมีไม่เพียงพอต่อการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นงานด้านรักษาทางทันตกรรมในกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากที่ปลายเหตุการจะดูแลให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์และต้องดูแลถึงที่บ้านรวมถึงในสถานศึกษาร่วมด้วยไม่ใช่เฉพาะในสถานบริการเท่านั้นเพื่อเป็นการสร้างสุขนิสัยที่ดีเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่า ร้อยละ
80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี 45

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/05/2020

กำหนดเสร็จ 07/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินการ
    ขั้นเตรียมการ     1. ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมกับพื้นที่     2. จัดทำแผน ขออนุมัติโครงการและขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากทันตบุคลากรในพื้นที่อำเภอวานรนิวาส  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    3. เตรียมข้อมูล   เอกสาร   และวัสดุอุปกรณ์ ขั้นดำเนินงาน 1. จัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมตามโครงการ 2. จัดบอร์ดเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพ 3. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ   ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
    3.1 อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ -  ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ -  ตรวจสุขภาพช่องปากแก่หญิงตั้งครรภ์ -  ฝึกทักษะการแปรงฟัน -  ฝึกทักษะการตรวจช่องปาก 3.2 อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่ม ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี -  ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพในผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี -  ตรวจสุขภาพช่องปากให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี -  ฝึกทักษะการแปรงฟัน -  ฝึกทักษะการตรวจช่องปาก 4. ให้บริการตรวจสภาวะช่องปากแก่เด็กแรกเกิด – 5 ปี 5. ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็กแรกเกิด – 5 ปี 6. ให้บริการแก้ไข้ปัญหาด้านทันตกรรมแก่หญิงตั้งครรภ์ 7. นิเทศติดตาม/ประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2563 ถึง 7 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

ผลที่คาดว่าจะได้รับ     1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้     2.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง 3.ผู้ปกครองเด็กอายุ 3 – 5 ปี มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และบุตรหลานได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งให้คำแนะนำและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นได้ งบประมาณ จากงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลกุดเรือคำ
จำนวน 11,350บาท รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าจ้างเหมาประกอบอาหาร จำนวน  65  คนๆ  ละ  50  บาท             เป็นเงิน  3,250  บาท 2. ค่าจ้างเหมาประกอบอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆ  ละ  25  บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เช้า-บ่าย เป็นเงิน  2,600  บาท 3. ชุดอุปกรณ์การแปรงฟัน แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน จำนวน 65 ชุด ๆ ละ 40 บาท
เป็นเงิน 3,320 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากร  ชั่วโมงละ 300 บาทจำนวน 6 ชั่วโมง        เป็นเงิน    1,800   บาท 5. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 x 2 เมตร 1 ป้าย                                  เป็นเงิน 450  บาท         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  11,350  บาท  (-หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสามร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน-)     หมายเหตุ   ค่าใช้จ่ายทุกรายการ  สามารถถัวจ่ายได้ตามความเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้
2.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
3.ผู้ปกครองเด็กอายุ 3 – 5 ปี มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และบุตรหลานได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งให้คำแนะนำและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นได้


>