กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อบรมเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลด ละ เลิกบุหรี่ และสารเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ห้องประชุมมหาราช

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติดมาช้านาน โดยสภาพปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน เด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดมีอายุน้อยลง จากระบบรายงาน บสต. ของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามกรมสุขภาพจิต พบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2556-2558 จำนวน 156,884คน 98,421 คน และ 55,683 คน ตามลำดับ โดยเป็นผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 3,975 คน 4,071 คน และ 3,912 คน ตามลำดับ จากสถิติการเข้ารับการบำบัดรักษาแม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลง แต่กลับพบว่าผู้เข้ารับบำบัดรักษาเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 50 (ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสุขภาพจิต, 2559) ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ควรได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติด และปัจจัยยั่วยุต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการกลับไปใช้ซ้ำ ซึ่งเมื่อจำแนกชนิดยาเสพติดที่มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากที่สุด คือ ยาบ้า ร้อยละ 75.20 รองลงมา คือ กัญชา ร้อยละ 6.83 และกระท่อม ร้อยละ 4.17 ด้านพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่น่าเป็นกังวล คือ การใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิดร่วมกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การบำบัดรักษามีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่าเด็กและเยาวชนมีการนำสารต่างๆที่หาได้ง่ายมาผสมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์เหมือนสารเสพติด ซึ่งเด็กและเยาวชนมีการทดลองดื่มสารเหล่านี้เนื่องจากมองว่าเกิดจากส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นอันตราย โดยที่ไม่ได้คำนึงว่ามีฤทธิ์เสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองโดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นวัยที่ดำเนินชีวิตในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ใฝ่หาความรู้ อยากเห็น อยากลองของใหม่ รักพวกพ้อง รักเพื่อน เชื่อเพื่อน และมองหาแบบอย่างเพื่อดำเนินรอยตามแบบทัศนคติที่ผิดๆเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในวัยรุ่น เช่น การเสพไอซ์ ทำให้ผอม ผิวขาว การเสพยาบ้าทำให้เพิ่มความตื่นเต้นในการมีเพศสัมพันธ์ อ่านหนังสือได้นานขึ้น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้สติปัญญาดีสามารถรักษาโรคบางอย่างได้ จากทัศนคติดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกอยากลองใช้ จนมีการติดสารเสพติดนั้นในที่สุด
ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด ละ เลิกบุหรี่และสารเสพติด ประจำปี 2563 นี้ขึ้น เพื่อเป็นการอบรมให้ความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดต่างๆ และเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้โทษ พิษภัยบุหรี่ และสารเสพติดประเภทต่างๆ
  • เยาวชนมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของบุหรี่ และสารเสพติดประเภทต่างๆ มากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
0.00
2 2. เพื่อให้เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม หันมาออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่ดี
  • เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่ดี
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 400
กลุ่มวัยทำงาน 456
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมและฐานเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมและฐานเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

7.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เยาวชน) 2 มื้อ x 25 บาท x 400 คน  เป็นเงิน 20,000 บาท    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (อสม.พี่เลี้ยง) 2 มื้อ x 25 บาท x 56 คน    เป็นเงิน  2,800    บาท    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้ปกครอง) 1 มื้อ x 25 บาท x 400 คน  เป็นเงิน 10,000 บาท    7.2 ค่าอาหารกลางวัน
    -  ค่าอาหารกลางวัน (เยาวชน) 1 มื้อ x 50 บาท x 400 คน  เป็นเงิน 20,000 บาท    -  ค่าอาหารกลางวัน (อสม.พี่เลี้ยง) 1 มื้อ x 50 บาท x 56 คน    เป็นเงิน  2,800    บาท

7.3 ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องบุหรี่และสารเสพติด 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 4 ครั้ง<br />
            &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;               เป็นเงิน&nbsp; 7,200     บาท

     7.4 ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท x 5 คน x 3 ชม. x 4 ครั้ง           เป็นเงิน  18,000    บาท
   7.5 ค่าป้ายไวนิลโครงการ    เป็นเงิน   1,200    บาท    7.6 ค่าไวนิลให้ความรู้เรื่องบุหรี่และสารเสพติด (แบบขาตั้ง)
    ขนาด 60 ซม. X 1.60 ซม x 4 ชุด x 1,150 บาท         เป็นเงิน  4,600    บาท    7.7 ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ สมุด ปากกาฯลฯ 1,000 บาท x 4 โซน      เป็นเงิน  4,000    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
90600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 90,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจโทษพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดเพิ่มขึ้น
- เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม หันมาออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่ดี


>