กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อบรมเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลด ละ เลิกบุหรี่ และสารเสพติด
รหัสโครงการ 63-L6961-02-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 90,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายถาวร ชุ่มมงคล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 456 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติดมาช้านาน โดยสภาพปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน เด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดมีอายุน้อยลง จากระบบรายงาน บสต. ของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามกรมสุขภาพจิต พบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2556-2558 จำนวน 156,884คน 98,421 คน และ 55,683 คน ตามลำดับ โดยเป็นผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 3,975 คน 4,071 คน และ 3,912 คน ตามลำดับ จากสถิติการเข้ารับการบำบัดรักษาแม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลง แต่กลับพบว่าผู้เข้ารับบำบัดรักษาเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 50 (ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสุขภาพจิต, 2559) ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ควรได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติด และปัจจัยยั่วยุต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการกลับไปใช้ซ้ำ ซึ่งเมื่อจำแนกชนิดยาเสพติดที่มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากที่สุด คือ ยาบ้า ร้อยละ 75.20 รองลงมา คือ กัญชา ร้อยละ 6.83 และกระท่อม ร้อยละ 4.17 ด้านพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่น่าเป็นกังวล คือ การใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิดร่วมกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การบำบัดรักษามีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่าเด็กและเยาวชนมีการนำสารต่างๆที่หาได้ง่ายมาผสมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์เหมือนสารเสพติด ซึ่งเด็กและเยาวชนมีการทดลองดื่มสารเหล่านี้เนื่องจากมองว่าเกิดจากส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นอันตราย โดยที่ไม่ได้คำนึงว่ามีฤทธิ์เสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองโดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นวัยที่ดำเนินชีวิตในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ใฝ่หาความรู้ อยากเห็น อยากลองของใหม่ รักพวกพ้อง รักเพื่อน เชื่อเพื่อน และมองหาแบบอย่างเพื่อดำเนินรอยตามแบบทัศนคติที่ผิดๆเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในวัยรุ่น เช่น การเสพไอซ์ ทำให้ผอม ผิวขาว การเสพยาบ้าทำให้เพิ่มความตื่นเต้นในการมีเพศสัมพันธ์ อ่านหนังสือได้นานขึ้น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้สติปัญญาดีสามารถรักษาโรคบางอย่างได้ จากทัศนคติดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกอยากลองใช้ จนมีการติดสารเสพติดนั้นในที่สุด ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด ละ เลิกบุหรี่และสารเสพติด ประจำปี 2563 นี้ขึ้น เพื่อเป็นการอบรมให้ความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดต่างๆ และเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้โทษ พิษภัยบุหรี่ และสารเสพติดประเภทต่างๆ
  • เยาวชนมีความรู้เรื่องโทษ พิษภัยของบุหรี่ และสารเสพติดประเภทต่างๆ มากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
0.00
2 2. เพื่อให้เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม หันมาออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่ดี
  • เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่ดี
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรม อบรมและฐานเรียนรู้ 0 90,600.00 90,600.00
รวม 0 90,600.00 1 90,600.00
  • กิจกรรมการอบรม แบ่งออกเป็น 4 รุ่นแบ่งตามโซน 4 โซน ประกอบด้วย โซนขวัญประชา โซนสายชล โซนสันติภาพ และโซนย่านการค้า โดยอบรม 1 วัน/รุ่น โดยมีกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมอบรม (ช่วงเช้า)
    • ให้ความรู้ทางสื่อแก่เด็กและผู้ปกครอง เรื่องการการเรียนรู้เข้าสู่วัยรุ่น บุหรี่และสารเสพติด โทษและพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติด ปัญหาเด็กและเยาวชนต่อสังคม กิจกรรมเข้าฐานเรียนรู้ (ช่วงบ่าย)
  • แบ่งกลุ่มละลายพฤติกรรม ร่วมทำกิจกรรม
  • นำเสนอกิจกรรมตามกลุ่ม
  • ทบทวน ถอดบทเรียน
  • สรุปการดำเนินงาน 3.3 ติดตามพฤติกรรมความเสี่ยงของเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจโทษพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดเพิ่มขึ้น
    • เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม หันมาออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2563 11:00 น.