กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งครก ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองพนพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งครก ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองพนพัฒนา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งครก ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

นางสาวดวงฤดี ศักดาพลเดช
นายโหยบมาศโอสถ
นายสุธรรม หญ้าปรัง
นายณพรวิศิษฎ์ผลเงาะ

1พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และพื้นที่เสี่ยง จำนวน 6 หมู่บ้านจำนวน 1,921หลังคาเรือน ดังนี้ 1) หมู่ที่ 5 บ้านมู่สา จำนวน 237 หลังคาเรือน2) หมู่ที่ 9 บ้านท่ามะพร้าว จำนวน 328 หลังคาเรือน3) หมู่ที่ 10 บ้านคลองไครจำนวน 549 หลังคาเรือน4) หมู่ที่ 11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

4.00

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2 ธันวาคม 2562 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 121,696 ราย อัตราป่วย 183.24 ต่อประชากรต่อแสน มีรายงานผู้เสียชีวิต 127 ราย ภาคที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (215.51)รองลงมา คือ ภาคกลาง (168.63) ภาคเหนือ (165.94) และภาคใต้ (165.55) ตามลำดับ ในเขตสุขภาพที่ 11 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 6,587 ราย อัตราป่วย 148.77 ต่อประชากรแสนคน เพศชาย 3,373 ราย เพศหญิง 3,214 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.04 : 1 มีรายงานผู้เสียชีวิต 19 ราย อัตราตาย 0.43 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยต่อแสนประชากรแสนคนสูงสุด คือ กลุ่ม 10-14 ปี รองลงมาคือ 15-19 ปี และ 5-9 ปี ตามลำดับ
จังหวัดกระบี่ มีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 9 ธันวาคม 2562 ได้รับรายงานมีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 577 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 122.32 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ 10-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5-9 ปีจากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่า จังหวัดกระบี่มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้น และอาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตและพบว่ามีการระบาดในกลุ่มเด็กโตอายุระหว่าง 10-14 ปี เพิ่มมากขึ้น และอำเภอคลองท่อม มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกติดอับดับที่ 2 ของจังหวัดกระบี่
และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งครก มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2562 จำนวน 4 ราย ปี 2561 จำนวน 24 คน และปี 2557-2560 จำนวน 32, 27 , 26 และ 13 คน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงทุกปี จากปัญหาการระบาดที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนและชุมชนให้ความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งครกสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองท่อมและเทศบาลตำบลคลองพนพัฒนา จึงร่วมดำเนินงานโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2563ด้วยการทำลายยุงตัวแก่ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงเพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก สร้างกระแส ประชาสัมพันธ์การรับรู้และความตระหนักในชุมชน ก่อให้เกิดเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ ลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
2 เพื่อสร้างเครือข่ายในการป้องกัน และ ควบคุมโรคไข้เลือดออก
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 3,457
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พ่นหมอกครัวกำจัดยุงตัวแก่

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกครัวกำจัดยุงตัวแก่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าน้ำยาเคมีกำจัดยุงขนาดบรรจุ 1 ลิตร หมู่บ้านละ 2 ขวด ราคาขวดละ 1,450 บาท จำนวน 6 หมู่บ้าน รวม 12 ขวด เป็นเงิน 17,400 บาท
  2. ค่าน้ำมันดีเซลสำหรับผสมน้ำยาเคมี ใช้น้ำมันดีเซลเฉลี่ยครั้งละ 1 ลิตร / 5 หลังคาเรือน จำนวน 1,921 หลังคาเรือน ใช้พ่น 2 ครั้งรวมน้ำมัน764 ลิตร ราคาลิตรละ 31 บาท เป็นเงิน 23,684 บาท
  3. ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย หมู่บ้านละ 2 ถัง จำนวน 6 หมู่บ้าน รวม 12ถังๆละ 4,500 บาท เป็นเงิน54,000 บาท
  4. ค่าน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอร์ 95 สำหรับเป็นเชื้อเพลิง ในการพ่น ใช้น้ำมันเบนซิน เฉลี่ยครั้งละ 1 ลิตร / 40 หลังคาเรือน จำนวน 1,921 หลังคาเรือน ใช้พ่น 2 ครั้งรวมน้ำมัน96 ลิตร ราคาลิตรละ 32 บาท เป็นเงิน 3,072 บาท
  5. ค่าแรงในการจ้างฉีดพ่นเคมี หลังคาเรือนละ 15 บาท / ครั้งจำนวน 1,921 หลังคาเรือน จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 57,630 บาท
  6. เหมาจ่ายค่าพ่นหมอกควันกำจัดยุงในสาธารณสถาน 18 แห่งๆละ 200 บาทเป็นเงิน 7,200 บาท 7.ถุงมือ กล่องละ 180 บาท จำนวน 3 กล่อง (1 กล่อง มี 50 คู่) ผ้าปิดจมูก กล่องละ 120 บาท จำนวน 7 กล่อง (1 กล่อง มี 50 ชิ้น)เป็นเงิน 1,380 บาท
  7. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1*3 ตารางเมตรๆละ 180 บาท จำนวน 1 แผ่นเป็นเงิน 540 บาท
  8. ค่าสเปย์กำจัดยุงขนาด 600 มล. จำนวน 80 กระป๋องๆละ 99 บาทเป็นเงิน 7,920 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และพื้นที่เสี่ยง ได้รับการพ่นหมอกครัวกำจัดยุงตัวแก่ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
172826.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประกวด “หมู่บ้านสะอาด ปลอดไข้เลือดออก”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวด “หมู่บ้านสะอาด ปลอดไข้เลือดออก”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำป้ายอะคีลิค สำหรับประกวดหมู่บ้านสะอาด ปลอดไข้เลือดออก ขนาด กว้าง 30* ยาว 60* ซม. จำนวน 3 ป้าย ราคา 500 บาท  เป็นเงิน    1,500  บาท ค่าจัดทำสติ้กเกอร์ 5ป 1ข / 3 เก็บ 3 โรค ขนาดกว้าง 16*ยาว 26 ซม. แผ่นละ 8 บาท จำนวน 1,921 ชิ้น  เป็นเงิน    15,368  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดต้นแบบหมู่บ้านสะอาด ปลอดไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16868.00

กิจกรรมที่ 3 มอบโลชั่นทากันยุง ตอนเด็กนอนพักกลางวันเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในช่วงหน้าฝนและช่วงที่มีการระบาดของโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
มอบโลชั่นทากันยุง ตอนเด็กนอนพักกลางวันเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในช่วงหน้าฝนและช่วงที่มีการระบาดของโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าโลชั่นทากันยุง ขนาดบรรจุ 60 มล.สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กอนุบาลในโรงเรียน จำนวน 431 คนๆละ 1 ขวดๆละ 55 บาท  เป็นเงิน    23,705  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กอนุบาลในโรงเรียนมีโลชั่นทากันยุง ตอนเด็กนอนพักกลางวันเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในช่วงหน้าฝนและช่วงที่มีการระบาดของโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23705.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 213,399.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง
2 เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของทางราชการ และประชาชนในพื้นที่
3 ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก มีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก


>