2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาท้องเสีย เป็นหวัดบ่อย ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย และอาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา
ตำบลขึ่งเป็นพื้นที่กึ่งชนบทกึ่งสังคมเมือง วัยทำงานส่วนหนึ่งไปทำงานต่างจังหวัด มีค่านิยมในการใช้บริการสาธารณสุขจากคลินิกเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฝากท้องและการคลอด จากการเก็บข้อมูลหญิงหลังคลอดปี 2560-2562 พบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ที่คลินิกทั้งในจังหวัดน่านและต่างจังหวัด หลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 3 เดือน หลังจากนั้นการเลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของ ปู่ ย่า ตา ยายทำให้เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมจากการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กในคลินิกสุขภาพเด็กดี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ่งพบเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ28.56ซึ่งส่วนใหญ่มีความล่าช้าด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการเข้าใจภาษา และการใช้ภาษาซึ่งพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย และมีภาวะโภชนาการที่สูง ดี สมส่วนการส่งเสริมให้พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็ก ใน 1,000 วันแรกของชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย และมีภาวะโภชนาการที่สูง ดี สมส่วน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ่ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ปี 2563
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
1.2 เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
1.3 เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2020
กำหนดเสร็จ 31/08/2020
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลง
2 ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
3 ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอนามัยของแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม