กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ่ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชไมพร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ส.ค. 2563 20 ส.ค. 2563 20 ส.ค. 2563 20 ส.ค. 2563 12,400.00
รวมงบประมาณ 12,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 34 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาท้องเสีย เป็นหวัดบ่อย ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย และอาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา ตำบลขึ่งเป็นพื้นที่กึ่งชนบทกึ่งสังคมเมือง วัยทำงานส่วนหนึ่งไปทำงานต่างจังหวัด มีค่านิยมในการใช้บริการสาธารณสุขจากคลินิกเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฝากท้องและการคลอด จากการเก็บข้อมูลหญิงหลังคลอดปี 2560-2562 พบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ที่คลินิกทั้งในจังหวัดน่านและต่างจังหวัด หลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 3 เดือน หลังจากนั้นการเลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของ ปู่ ย่า ตา ยายทำให้เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมจากการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กในคลินิกสุขภาพเด็กดี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ่งพบเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ28.56ซึ่งส่วนใหญ่มีความล่าช้าด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการเข้าใจภาษา และการใช้ภาษาซึ่งพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย และมีภาวะโภชนาการที่สูง ดี สมส่วนการส่งเสริมให้พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็ก ใน 1,000 วันแรกของชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย และมีภาวะโภชนาการที่สูง ดี สมส่วน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ่ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ปี 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

ทารกแรกเกิด มีน้ำหนัก ไม่น้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 0

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 268 12,400.00 2 12,400.00
1 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 2.จัดบริการ คลินิกตรวจสุขภาพเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ่ง ทุกวันพุธ 224 4,500.00 4,500.00
20 ส.ค. 63 1.จัดประชุมให้ความรู้หญิงมีครรภ์และผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด – 2 ปี 44 7,900.00 7,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลง 2 ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3 ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอนามัยของแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2563 00:00 น.