กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย คาดเข็มขัด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

1.นางสุพิศ แสงจันทร์
2.นางอนงค์ อนุโชติ
3.นายอุดม จินดา
4.นายนรินทร์ หนูทิม
5.นางชฎาภรณ์ ชูมณี

รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคนไทยมีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรเป็นอันดับ 1 ซึ่งสาเหตุหลักๆพบว่า เกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัยการเมาแล้วขับ และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ในแต่ละปีจะมีการเพิ่มของการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากเจาะลึกลงไปจะพบว่า เกิดจากการไม่มีจิตสำนึก และการขาดระเบียบวินัย ของบุคคลที่ใช้ทางในการขับขี่ อีกส่วนหนึ่งยังพบว่า ขาดความรู้เรื่องกฎจราจรและไม่เข้าใจเครื่องหมายทางจราจรต่างๆ โดยมักพบว่า จะมีข่าวจากช่องทางต่างๆที่มีอุบัติเหตุจากการจราจรไมเว้นแต่ละวัน
จังหวัดพัทลุงรวมไปถึงอำเภอบางแก้ว ยังมีปัญหาอุบัติเหตุการจราจรอยู่ตลอด โดยพบว่าข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจราจรและเสียชีวิต 3 ปีย้อนหลัง(2560 -2562) ของจังหวัดพัทลุงและอำเภอบางแก้ว เป็นดังนี้ พ.ศ.2560 จ.พัทลุง เกิดอุบัติเหตุ 2596 ครั้ง ตาย 81 ราย อ.บางแก้ว เกิดอุบัติเหตุ 87 ครั้ง ตาย 11 รายพ.ศ.2561 จ.พัทลุง เกิดอุบัติเหตุ 3005 ครั้ง ตาย 102 ราย อ.บางแก้ว เกิดอุบัติเหตุ 90 ครั้ง ตาย 6 ราย พ.ศ.2562 จ.พัทลุง เกิดอุบัติเหตุ 3363 ครั้ง ตาย 130 ราย อ.บางแก้ว เกิดอุบัติเหตุ 85 ครั้ง ตาย 8 ราย(ที่มา: กองสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข) โดยเฉพาะเทศกาลหรือช่วงวันหยุดยาวต่างๆ ซึ่งสาเหตุหลักๆมาจากปัญหาเดียวกันกับระดับประเทศ กล่าวคือการไม่สวมหมวกนิรภัย การเมาแล้วขับ การไม่คาดเข็มขัดเข็มขัดนิรภัย และจะพบว่าเกิดกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นส่วนใหญ่การที่จะลดหรือทำให้ปัญหาดังกล่าวน้อยลง การส่งเสริมความรู้ การสร้างจิตสำนึก การชี้ให้เห็นจะช่วยลดปัญหาให้น้อยลงได้
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านเกาะเคียน เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์กับประชาชน เพื่อให้มีความรู้ด้านกฎจราจรต่างๆและเป็นการสร้างความจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้มีการนำความรู้ไปใช้ในชุมชน ครอบครัว และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในการใช้รถใช้ถนนได้ดีขึ้น ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ด้านการจราจร

มีผู้เข้าร่วมประชุมครบตามเป้าหมาย

0.00
2 เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมสามารถปฏิบัติตนในการใช้รถ ใช้ถนนได้ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมประชุมใช้รถใช้ถนนได้ถูกต้องตามกฎจราจร

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมนำความรู้ไปใช้กับครอบครัวและชุมชนได้

ชุมชนและครัวเรือนมีผู้ทำผิดกฎจราจรลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 85
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/09/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมอบรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมอบรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าจ้างทำไวนิล ขนาด 1.5 x 2 ม.  จำนวน 1 ป้าย  = 600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน  ผู้เข้าประชุม,วิทยากรและจนท.รพ.สต.บ้านเกาะเคียน จำนวน 85 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท  = 5,100  บาท
-ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 85 คน x 2 มื้อ = 4,250  บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชมๆละ 600 บาท = 3,600 บาท -ค่าวัสดุในการจัดอบรม(ปากกา สมุด แฟ้ม โปสเตอร์จราจร หมวกนิรภัยสาธิตฯ) = 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนและอสม.มีความรู้ด้านกฎหมายจราจรเบื้องต้น สามารถปฏิบัติตนในการใช้รถ ใช้ถนนที่ถูกต้อง และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในครอบครัวและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนและอสม.มีความรู้ด้านกฎหมายจราจรเบื้องต้น สามารถปฏิบัติตนในการใช้รถ ใช้ถนนที่ถูกต้อง
และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในครอบครัวและชุมชน


>