กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเมือง ผักปลอดภัยไร้สารพิษชีวิตเป็นสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชุมชนเจริญสุข

1. นายธนัตถ์สรณ์ จันทร์วิลาศ โทร. 0954412284
2. นายสุเมทร์ ปะติตัง โทร. 087-3986901
3. นายสิทธิชัยพะสียา โทร. 082-2698933
4. นายประทิวแก้วคง โทร. 083-6523667
5. นายพิเชษฐ์ หารเชิงค้าโทร. 081-6792553

ชุมชนเจริญสุข

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการบริโภคผักที่มีสารพิษตกค้างเป็นจำนวนมาก

 

60.00
2 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

การที่มีพื้นที่ผลิตพืชผักน้อยเนื่องจากเป็นเขตชุมชนเมือง จึงต้องมีการบูรณาการปลูกผักแบบยกแคร่

40.00
3 ร้อยละของการบริโภคผัก

 

30.00

จากปัญหา การบริโภคสารพิษตกค้างในพืชผัก การรับประทานผักน้อยลง และการมีพื้นจำกัดในการปลูกผัก ไม่มีพื้นที่ในการผลิตพืชผักสวนครัวกินได้ ทำให้ชาวชุมชนจำเป็นต้องไปซื้อผักจากตลาดที่อาจมีสารพิษตกค้างอยู่ในปริมาณที่เราไม่สามารถทราบได้ หรือแม้แต่กระทั่ง กระทบถึงการบริโภคอาหารที่เป็นผักผลไม้น้อยลงมาก จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการปลูกผักยกแคร่ปลอดภัยไร้สารพิษชีวิตเป็นสุขขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชาวชุมชนเจริญสุขมีพืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

10.00 50.00
2 เพื่อให้ชาวชุมชนเจริญสุขมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น เนื่องจากได้รับประทานผักปลอดสารพิษ

ชาวชุมชนเจริญสุขมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น

30.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ชาวชุมชนเจริญสุขที่เป็นครอบครัวต้นแบบ 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปลูกผักยกแคร่ปลอดสารพิษชีวิตเป็นสุข

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักยกแคร่ปลอดสารพิษชีวิตเป็นสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ชาวชุมชนเจริญสุข(ครอบครัวต้นแบบ) 15 คน และประชาชนทั่วสนใจ 15 คน รวม 30 คน
รายละเอียดการดำเนินโครงการ ดังนี้
1. รับสมัคร ครอบครัวต้นแบบจากในชุมชน จำนวน 15 หลังคาเรือนเข้าร่วมโครงการ
2. จัดอบรมเรื่องการปลูกผักยกแคร่ผักปลอดภัยไร้สารพิษชีวิตเป็นสุข
กำหนดการ ดังนี้
08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม
08.45 – 09.00 น. ประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรม
09.00 – 12.00 น. คัดเลือกประธานกลุ่มปลูกผักยกแคร่ ,วิทยากรบรรยายเรื่องความเป็นมาเกี่ยวกับการปลูกผัก ยกแคร่, วัตถุและองค์ประกอบในการปลูกพืช เช่น วัสดุอินทรีย์,ปุ๋ยหมัก,และดิน, องค์ประกอบที่ทำให้พืชเจริญเติบโต เช่น แสงแดด,น้ำ,ปุ๋ย,อากาศ , วิธีการและขั้นตอนการปลูก , การเพาะกล้าพันธ์ผักที่ต้องการจะปลูก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 – 16.00 น. อบรมและสาธิตการประกอบแคร่สำหรับปลูกผักสำหรับก่อนที่จะนำไปทำเองที่บริเวณบ้าน , แจกชุดแคร่ปลูกผักให้ผู้ร่วมโครงการ ครัวเรือนละ ๒ ชุด ให้นำไปประกอบที่บ้าน และทำการปลูกผัก , เรื่องวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักแบบยกแคร่ เช่น ดิน ขุยมะพร้าว หรือวัสดุอื่นๆ, ขั้นตอนการการปลูกผัก การใส่ดิน การผสมปุ๋ยรองแปลงปลูก การโรยเมล็ด วัสดุคลุมดิน และการรดน้ำ, ขั้นตอนการใส่ปุ๋ย การทำปุ๋ยเองแบบง่าย ช่วงเวลาการใส่ปุ๋ย ตลอดถึงการดูแลรักษาผัก
3. สาธิตการปลูกผักยกแคร่
4. นำผักปลอดภัยไร้สารพิษที่ได้จากการปลูก มาบริโภคภายในครัวเรือน
งบประมาณในการดำเนินโครงการ ดังนี่้
1. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 30 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
4. ค่าจ้างทำโครงเหล็ก(แคร่)ขนาด 100 X 60 X 200 เซนติเมตร 15 ตัว ตัวละ 660 บาท เป็นเงิน 9,900 บาท
5. ค่าสแลนด์รองแปลงปลูกผักขนาด 80 x 100 เมตร 1 ม้วน ม้วนละ 1,600 บาท
6. ค่าคลิปเหล็กล็อกโต๊ะ 150 ตัว ตัวละ 9 บาท = 1,350 บาท
7. ค่าคลิปพลาสติกล็อกสแลนด์แปลงปลูก 200 ตัว ตัวละ 5 บาท = 1,000 บาท
8. ค่าเมล็ดพันธ์ ผัก 5 ชนิด ชนิดละ 100 บาท = 500 บาท
9. ค่าป้ายโครงการ 1 ป้าย ป้ายละ 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการบริโภคผักปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 15 ครัวเรือน
  2. มีสุขภาพจิตแจ่มใสเมื่อได้ปลูกผักหน้าบ้าน
  3. ลดสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย
  4. ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,150.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชาวชุมชนเจริญสุขมีพืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและมีการบริโภคผักที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
2. ชาวชุมชนเจริญสุขมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น เนื่องจากได้รับประทานผักปลอดสารพิษ มีสุขภาพจิตแจ่มใสเมื่อได้ปลูกผักหน้าบ้าน


>