กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพยุค COVID-19 ด้วยแอโรบิคออกกำลังกายและการนวดผ่อนคลายด้วยตนเอง ชมรมแอโรบิคลานคนเดิน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพยุค COVID-19 ด้วยแอโรบิคออกกำลังกายและการนวดผ่อนคลายด้วยตนเอง ชมรมแอโรบิคลานคนเดิน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรมแอโรบิคลานคนเดิน สนามมหาราช

1. นางอาจารีย์ สุวรรณรัตน์ โทร. 085-3403912

แอโรบิคลานคนเดิน สนามมหาราช

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสมาชิกในกลุ่มมีภาวะอ้วนลงพุง/ดัชนีมวลกานเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

50.00
2 ร้อยละของสมาชิกในกลุ่มขาดความรู้เรื่องการนวดผ่อนคลายหลังการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

 

50.00
3 ร้อยละของสมาชกในกลุ่มขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

50.00

โรคอ้วนลงพุงเป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป ทำให้เกิดเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมาก โดยคนท้วมมีโอกาสเกิดอ้วนลงพุงได้ถึงร้อยละ 25 หากตกอยู่ในภาวะอ้วนลงพุงจะส่งผลเสียกับร่างกาย ได้แก่ โรคอ้วน ไขมันอุดตัน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันเกาะตับ มะเร็ง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคเกาต์ โรคข้อเสื่อม หยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea) โรคผิวหนัง เชื้อรา เส้นเลือดขอด เป็นต้น สาเหตุส่วนหนึ่งของภาวะอ้วนลงพุงคือ การรับประทานอาหารที่มากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
การเต้นแอโรบิค(Aerobic Dance) เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวออกแรงและทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีการสูบฉีดของโลหิตไปทั่วร่างกายมากขึ้น ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนหล่อเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น และมีการระบายของเสียออกได้รวดเร็วขึ้น โดยทั่วไปจะมีคำแนะนำสำหรับเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายแบบแอโรบิคประมาณ 20-30 นาทีเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นวิธีการออกกำลังอย่างหนึ่งที่สามารถควบคุมน้ำหนักของตนเองได้ ซึ่งหลังจากออกกำลังกายอาจมีความรู้สึกปวดและเมื่อยกล้ามเนื้อขึ้นได้เนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้อจะขยายและเกิดการสลายหรือถูกทำลายเป็นผลทำให้เกิดการอักเสบ บาดเจ็บของเซลล์ และหลังจากนั้น ร่างกายเราจะพยายามรักษาสภาพให้คืนกลับมาดังเดิม โดยการซ่อมแซมเซลล์ ซึ่งการบาดเจ็บทั้งหมดทั้งมวลภายในเซลล์นี้ ร่างกายตอบสนองมาให้เรารับรู้ในรูปแบบของอาการ ปวดและเมื่อยนั่นเอง ซึ่งการนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือพังผืดและลดการเกิดอุบัติเหตุ รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ และลดความเจ็บปวดได้พอสมควร
และในสถานการณ์ปัจจุบันได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้นทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยก็ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในทุกวัน ดังนั้น การส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลตนเองเบื้องต้น ทางชมรมแอโรบิคลานคนเดิน สนามมหาราช จึงได้จัดโครงกาารนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนสมาชิกที่มีภาวะอ้วนลงพุง/ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน

สมาชิกที่อ้วนลงพุง/ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐานมีจำนวนลดลง

50.00 40.00
2 เพื่อให้สมาชิกมีความรู้เรื่องการนวดผ่อนคลายหลังการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

สมาชิกสามารถนวดผ่อนคลายหลังการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง

50.00 70.00
3 เพื่อให้สมาชิกมีความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

สมาชิกมีความรู้และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยแอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยแอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกชมรมแอโรบิคลานคนเดินและประชาชนที่สนใจ 60 คน
กิจกรรม ดังนี้
ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค โดยมีการออกกำลังด้วยแอโรบิค อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ในช่วงเวลา 06.00 - 07.30 น. ณ ลานคนเดิน สนามมหาราช
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าจัดซื้อไมโครโฟนไร้สายชนิดคล้องหู = 9,000 บาท
2. ค่าจัดจ้างทำแผ่นเพลงนำเต้น = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกในกลุ่มและประชาชนที่สนใจมีการออกกำลังกายด้วยแอโรบิคอน่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการนวดผ่อนคลายด้วยตนเอง และการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการนวดผ่อนคลายด้วยตนเอง และการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกชมรมแอโรบิคลานคนเดินและประชาชนที่สนใจ 60 คน
กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการนวดผ่อนคลายด้วยตนเองและการป้องกันตนเองจาก COVID-19 โดยเชิญวิทยากรจากแผนกแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกมาอบรมให้ความรู้เรื่องการนวดผ่อนคลายด้วยตนเองหลังการเต้นแอโรบิคที่ถูกวิธี และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 5 ชม. x 600 บาท = 3,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 60 คน x 2 มื้อ = 3,000 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 60 คน = 3,000 บาท
4. ค่าป้ายโครงการ = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกในกลุ่มและผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการนวดผ่อนคลายด้วยตนเองที่ถูกต้อง และมีความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19 ได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพกายที่ดีขึ้น น้ำหนักรอบเอวและดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนวดผ่อนคลายหลังการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง


>