กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมไอโอดีนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดพร้าว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

กลุ่มหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด
1. นางฉลาด ลอประเสริฐ
2. นางบุญธรรม จ้อยสุดใจ
3. นางสาวจันทิมา จันทร์เชื้อ
4. นางน้ำผึ้ง อยู่รอด
5. นางสาวสายฝน อยู่มนเทียน

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

5.00
2 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

 

15.00
3 จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)

 

15.00
4 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

 

18.00
5 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย (คน)

 

20.00
6 จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)

 

22.00
7 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

 

0.00
8 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม(คน)

 

2,090.00

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญเป็นต้นเหตุที่พบมากที่สุดภาวะปัญญาอ่อนซึ่งป้องกันได้พบได้ในทุกกลุ่มอายุแต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนอายุ2 – 3ปีโดยมีผลลดความเฉลียวฉลาดหรือไอคิวของเด็กได้ถึง 10-15 จุด ซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยปกติร่างกายต้องการสารไอโอดีนทุกวันวันละ100 -150 ไมโครกรัมในส่วนของหญิงมีครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้งหรือพิการตั้งแต่กำเนิดเด็กที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารไอโอดีนมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อนเป็นใบ้ช่วยตัวเองไม่ได้กลายเป็นเด็กเอ๋อ ส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เรียนรู้ช้าเฉื่อยชาเป็นคอพอกเพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองทารกที่อยู่ในครรภ์ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มจำนวนและขนาดเซลล์สมองและช่วยโครงข่ายประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกันสร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่องส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดสารไอโอดีน จะทำให้เป็นคนเซื่องซึมเฉื่อยชาประสิทธิภาพการทำงานลดลง
ดังนั้นกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดตำบลวัดขวางได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการใช้ไอโอดีนในเด็กก่อนวัยเรียน จึงจัดทำโครงการส่งเสริมไอโอดีนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดพร้าวขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีการบริโภคอาหารเสริมไอโอดีนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดพร้าวและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องประโยชน์ของสารไอโอดีนและสามารถทำอาหารเสริมไอโอดีนให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนได้เพื่อลดปัญหาภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนอย่างจริงจัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

15.00 15.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)

15.00 14.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

18.00 16.00
4 เพื่อป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย (คน)

20.00 20.00
5 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)

22.00 22.00
6 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

0.00 0.00
7 เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม(คน)

2090.00 1343.00
8 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

5.00 5.00

1. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของสารไอโอดีนและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดพร้าวได้รับการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากเกลือเสริมไอโอดีน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 52
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องส่งเสริมการใช้ไอโอดีน ประโยชน์ของไอโอดีน และสาธิตการทำอาหารเสริมให้ไอโอดีนให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องส่งเสริมการใช้ไอโอดีน ประโยชน์ของไอโอดีน และสาธิตการทำอาหารเสริมให้ไอโอดีนให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2. ติดต่อประสานงานวิทยากรและจัดเตรียมอุปกรณ์ในการอบรม
3. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องส่งเสริมการใช้ไอโอดีน ประโยชน์ของไอโอดีน และสาธิตการทำอาหารเสริมให้ไอโอดีนให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร 4. ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

งบประมาณ     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง จำนวน  8,560 บาท  รายละเอียด  ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องส่งเสริมการใช้ไอโอดีน ประโยชน์ของไอโอดีน และสาธิตการทำอาหารเสริมให้ไอโอดีนให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร     เป้าหมาย  คือ ผู้ปกครองเด็ก ครูดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร จำนวน  54 คน
    - ค่าอาหารกลางวัน มื้อ จำนวน  54  คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,700  บาท     - อาหารว่างและเครื่องดื่ม  2 มื้อ จำนวน 54 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,700 บาท     - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
    - ค่าวัสดุ
         * ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360  บาท          * ค่าวัสดุทำอาหารสาธิตเสริมไอโอดีน 
           1. เมนูไข่ตุ๋นเสริมไอโอดีน   500   บาท  2. เมนูผักแปลงร่างเสริมไอโอดีน  500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของสารไอโอดีนและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน 2.เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดพร้าวได้รับการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากเกลือเสริมไอโอดีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของสารไอโอดีนและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน
2.เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดพร้าวได้รับการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากเกลือเสริมไอโอดีน


>