กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะรือโบตก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารดีมีประโยชน์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะรือโบตก

ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลมะรือโบตก

เทศบาลตำบลมะรือโบตก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (2ขึ้นไป-4ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงโภชนาการ(คน)

 

47.00

อาหารที่ดีมีประโยชน์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยแต่ในปัจจุบันพบว่ามีเด็กจำนวนไม่น้อยบริโภคอาหารไม่ครบถ้วนทั้ง ๕ หมู่และไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ อันเป็นสาเหตุทำให้เด็กๆอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยและขาดการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการสำรวจในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลมะรือโบตก พบว่าเด็กนักเรียนจำนวน 47 คน มีภาวะเสี่ยงโภชนาการจากเด็กนักเรียนทั้งหมด 78 คน
ด้วยเหตุนี้ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลมะรือโบตกจึงได้จัดทำโครงการ “อาหารดี มีประโยชน์”ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคอาหารที่จามีประโยชน์และมีคุณค่าต่อร่างกายการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ มีส้ดส่วนและปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะทำให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัยมีสุขภาพแข็งแรงผลจากการที่เด็กมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจะทำให้เด็กมีสติปัญญาดีสังคมดีและอารมณ์จิตใจที่แจ่มใส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์

47.00 37.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมกับวัย

ร้อยละ ๘๐ เด็กได้รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เหมาะสมกับวัย

47.00 37.00
3 เพื่อเสริมสุขภาพพลานามัยที่ดีให้แก่เด็กนักเรียน

ร้อยละ ๘๐ เด็กมีสุขภาพพลานามัยที่ดีขึ้นจากการบริโภคอาหารดีมีประโยชน์

47.00 37.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 47
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร 1  ท่าน * 1  ชั่วโมง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดมุมอาหารน่ารู้ น่ารับประทานสำหรับเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดมุมอาหารน่ารู้ น่ารับประทานสำหรับเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าหนังสือรูปภาพ ผัก ผลไม้และอาหารที่มีประโยชน์ 259บาท x 20 เล่ม = 5,180
  • ผัก ผลไม้จำลอง 199 บาท x3ชุด
    =597 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 700 บาท รวมเป็นเงิน 6,477 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์และเลือกบริโภคผัก ผลไม้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6477.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรม"ตลาดนัดคุณหนู"

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม"ตลาดนัดคุณหนู"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ขนมปังแผ่น25 ถุง x 24 บาท = 600บาท
  • ไข่ 7 แผง x 90 บาท = 630 บาท
  • ไก่ 30 กิโลกรัม x 68 บาท = 2,040 บาท

  • ผักสลัดบาร์ 15 กิโลกรัม x 40 บาท
    = 600 บาท

  • ข้าวโพด 5 กิโลกรัม x 9 บาท = 45 บาท
  • แตงกวา 5 กิโลกรัม x 25 บาท = 125 บาท
  • มะเขือเทศ 5 กิโลกรัม x 35 บาท = 175 บาท
  • แครอท 5 กิโลกรัม x 65 บาท = 325 บาท
  • ทูน่ากระป๋อง 15 กระป๋อง x 35 บาท = 525 บาท
  • แยมผลไม้ 3กระปุก x 42 บาท = 126 บาท
  • ซอสมะเขือเทศ 5 ถุง x 38 บาท =190บาท
  • มายองเนส 3ถุง x 75 บาท = 225 บาท
  • เกล็ดขนมปัง 2 ถุง x 35 บาท = 70 บาท
  • ส้ม 4 กิโลกรัม x 50 บาท = 200 บาท
  • ไอศกรีมกะทิ 1 ถัง x 1,100 = 1,100 บาท
  • น้ำตาล 5 กิโลกรัม x 25 บาท =125 บาท
  • นมจืด 2 แพ็ค x 95 บาท=190 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก มีสุขภาพพลานามัยที่ดีขึ้นจากการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7291.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,368.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น
2. ครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
3. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่ดีขึ้นจากการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์


>