กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้มาตรฐานปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภคบ้านควนปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

นางปทุมมาศ โลหะจินดา
นางสุภา นวลดุก
นางสุพิชชา หมาดสกุล
นางนุสรัตน์ นุ่งอาหลี
น.ส.โสภิตรา นารีเปน

ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความรู้ของผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เรื่องสุขาภิบาลอาหารและเกณฑ์มาตรฐานต่ำกว่าเกณฑ์

 

50.00
2 ร้อยละ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test)

 

60.00
3 ร้อยละร้านชำไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ

 

100.00

หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ปัจจุบันร้านขายของชำเป็นแหล่งกระจายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่จับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและมีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัย เช่น ยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยสูง ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ซึ่งหากผู้บริโภคยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
จากข้อมูลร้านอาหารทั้งหมด 8 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จำนวน 2 ร้านคิดเป็นร้อยละ 25.00 ,แผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด 67 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จำนวน 1 ร้านคิดเป็นร้อยละ 1.49 และร้านขายของชำทั้งหมด 48 ร้านไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ และจากการตรวจประเมินในบี 2563 ผลการประเมินคือ ร้านขายของชำจำนวน 48 ร้าน มีเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 14 ข้อไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามลำดับ 5 ข้อคือ ข้อที่13 มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่นแผ่นพับ ไวนิล ร้อยละ 100,ข้อที่ 14 ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติหรือตอบคำถามเรื่่องฉลากอาหาร(เลข อย.)/วันผลิต วันหมดอายุ/เลขจดแจ้งของเครื่องสำอาง/ยกตัวอย่างยาที่ขายได้ในร้านชำ ร้อยละ 97.87,ข้อที่ 7 อาหารที่มีฉลากมีการแสดงเครื่องหมาย อย. สถานที่ผลิต วันผลิต วันหมดอายุทุกรายการ ร้อยละ 95.74,ข้อที่ 1 ไม่พบการจำหน่ายยาแผนปัจจุบันประเภทยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ร้อยละ 55.31,ข้อที่ 2 ไม่พบพบการจำหน่ายยาชุด ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ(NDAIDs) ร้อยละ 38.29 ส่วนการตรวจประเมินแผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด 84 ร้าน/ร้านอาหารทั้งหมด 6 ร้าน รวมทั้งหมดจำนวน 90 ร้าน มีเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารจำนวน 12 ข้อ/15 ข้อ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามลำดับ 5 ข้อคือ ข้อที่ 9 มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัดคือถังขยะไม่มีฝาปิด ร้อยละ 90,ข้อที่ 8 ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาด หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาดมีการปกปิดเก็บสูงจากพิ้นอย่างน้อย 60 ซม. พบไม่ปกปิด ร้อยละ 71.11,ข้อที่ 2 อาหารปรุงสุกมีการปกปิด หรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค พบไม่ปกปิด ร้อยละ 67.70,ข้อที่ 1 แผงลอยจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. พบไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ ร้อยละ 66.60,ข้อที่ 6 น้ำแข็งที่ใช้บริโภค สะอาด มีฝาปิดสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. ที่ตักด้ามยาว ไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นแช่ในน้ำแข็ง พบนำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นแช่ในน้ำแข็ง ร้อยละ 52.20
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จึงได้เล็งเห็นถึงการพัฒนา ยกระดับ และเฝ้าระวังร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในหมู่บ้านให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ผู้ประกอบการ จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลง จึงได้จัดทำ "โครงการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหารร้านอาหาร ได้มาตรฐานปลอดภัย ใสใจสุขภาพผู้บริโภคบ้านควน" เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่บ้านควน มีความปลอดภัยในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปน มีการสำรวจเฝ้าระวัง ติดตามประเมินผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้รับการพัฒนายกระดับให้มีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนบ้านควนอย่ายั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร

ร้อยละความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร

50.00 85.00
2 เพื่อพัฒนา ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test)

30.00 60.00
3 เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสินค้าอุปโภค บริโภคที่ได้มาตรฐาน

ร้อยละของร้านชำ ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐาน

30.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การอบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร จำนวน 80 คน โดยการอบรมให้ความรู้ การสาธิต การตรวจประเมินตามแบบประเมินมาตรฐานร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร การตรวจตัวอย่างอาหาร ตรวจสารปนเปื้อน 6 ชนิด คือสารเคมี วัตถุอันตราย เครื่องสำอางปลอม และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน ผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 4 ชม. x 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร จำนวน 80 คน มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการออกประเมินให้คำแนะนำ ร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ด้านสุขาภิบาลอาหารได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ในหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน
2.ให้คำแนะนำตามเกณฑ์มาตรฐาน และตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร โดยคณะกรรมการจำนวน 12 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. 1 คน และตัวแทน อสม. 10 คน และตรวจติดตามทางกายภาพหมู่ละ 3 ครั้ง รวมเป็นจำนวน 15 ครั้ง
3.ประชุมสรุปผลการออกตรวจประเมินและการให้คำแนะนำตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารจำนวน 15 ครั้ง
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกรรมการ ตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารจำนวน 12 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 15 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้รับการตรวจประเมิน ร้อยละ 100
  2. ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 30
  3. แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหารได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ร้อยละ 60
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุม/ออกนิเทศ ตรวจประเมินได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล

ชื่อกิจกรรม
ประชุม/ออกนิเทศ ตรวจประเมินได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมรับการออกนิเทศ/ตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร เพื่อรับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล โดยการตรวจทางกายภาพและทางเคมี ด้วยน้ำยาตรวจอาหาร SI2 โดยคณะกรรมการจำนวน 9 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. 1 คน ,สสจ.สตูล 2 คน และตัวแทน อสม. 5 คน
2.ติดตาม สรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เมื่อเส็จสิ้นการดำเนินงาน
3.ประชุมออกนิเทศ ตรวจประเมิน สรุปปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการ ตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ของ สสจ.สตูลและคณะกรรมการ จำนวน 9 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 5 ครั้ง เป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้รับการตรวจประเมิน เพื่อรับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ร้อยละ 60
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,อสม. 11 คน รวมเป็นจำนวน 12 คน เพื่อสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เมื่อเส็จสิ้นการดำเนินงานตามโครงการ
2.สรุปปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการ จำนวน 12 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน คณะกรรมการ จำนวน 12 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชุมคณะกรรมการ สรุปปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น จำนวน 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,525.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85
2. แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ร้อยละ 60
3. ร้อยละ 100 ของร้านชำ ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ


>