กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้มาตรฐานปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภคบ้านควนปี 2564
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน
กลุ่มคน
นางปทุมมาศ โลหะจินดา
นางสุภา นวลดุก
นางสุพิชชา หมาดสกุล
นางนุสรัตน์ นุ่งอาหลี
น.ส.โสภิตรา นารีเปน
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ปัจจุบันร้านขายของชำเป็นแหล่งกระจายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่จับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและมีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัย เช่น ยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยสูง ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ซึ่งหากผู้บริโภคยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
จากข้อมูลร้านอาหารทั้งหมด 8 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จำนวน 2 ร้านคิดเป็นร้อยละ 25.00 ,แผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด 67 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จำนวน 1 ร้านคิดเป็นร้อยละ 1.49 และร้านขายของชำทั้งหมด 48 ร้านไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ และจากการตรวจประเมินในบี 2563 ผลการประเมินคือ ร้านขายของชำจำนวน 48 ร้าน มีเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 14 ข้อไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามลำดับ 5 ข้อคือ ข้อที่13 มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่นแผ่นพับ ไวนิล ร้อยละ 100,ข้อที่ 14 ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติหรือตอบคำถามเรื่่องฉลากอาหาร(เลข อย.)/วันผลิต วันหมดอายุ/เลขจดแจ้งของเครื่องสำอาง/ยกตัวอย่างยาที่ขายได้ในร้านชำ ร้อยละ 97.87,ข้อที่ 7 อาหารที่มีฉลากมีการแสดงเครื่องหมาย อย. สถานที่ผลิต วันผลิต วันหมดอายุทุกรายการ ร้อยละ 95.74,ข้อที่ 1 ไม่พบการจำหน่ายยาแผนปัจจุบันประเภทยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ร้อยละ 55.31,ข้อที่ 2 ไม่พบพบการจำหน่ายยาชุด ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ(NDAIDs) ร้อยละ 38.29 ส่วนการตรวจประเมินแผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด 84 ร้าน/ร้านอาหารทั้งหมด 6 ร้าน รวมทั้งหมดจำนวน 90 ร้าน มีเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารจำนวน 12 ข้อ/15 ข้อ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามลำดับ 5 ข้อคือ ข้อที่ 9 มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัดคือถังขยะไม่มีฝาปิด ร้อยละ 90,ข้อที่ 8 ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาด หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาดมีการปกปิดเก็บสูงจากพิ้นอย่างน้อย 60 ซม. พบไม่ปกปิด ร้อยละ 71.11,ข้อที่ 2 อาหารปรุงสุกมีการปกปิด หรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค พบไม่ปกปิด ร้อยละ 67.70,ข้อที่ 1 แผงลอยจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. พบไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบ ร้อยละ 66.60,ข้อที่ 6 น้ำแข็งที่ใช้บริโภค สะอาด มีฝาปิดสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. ที่ตักด้ามยาว ไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นแช่ในน้ำแข็ง พบนำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นแช่ในน้ำแข็ง ร้อยละ 52.20 ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จึงได้เล็งเห็นถึงการพัฒนา ยกระดับ และเฝ้าระวังร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในหมู่บ้านให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ผู้ประกอบการ จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลง จึงได้จัดทำ "โครงการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหารร้านอาหาร ได้มาตรฐานปลอดภัย ใสใจสุขภาพผู้บริโภคบ้านควน" เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่บ้านควน มีความปลอดภัยในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปน มีการสำรวจเฝ้าระวัง ติดตามประเมินผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ได้รับการพัฒนายกระดับให้มีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนบ้านควนอย่ายั่งยืนต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร
    ตัวชี้วัด : ร้อยละความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 85.00
  • 2. เพื่อพัฒนา ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test)
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 60.00
  • 3. เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสินค้าอุปโภค บริโภคที่ได้มาตรฐาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของร้านชำ ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐาน
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. เพิ่มความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการ
    รายละเอียด

    1.การอบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ให้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร จำนวน 80 คน โดยการอบรมให้ความรู้ การสาธิต การตรวจประเมินตามแบบประเมินมาตรฐานร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร การตรวจตัวอย่างอาหาร ตรวจสารปนเปื้อน 6 ชนิด คือสารเคมี วัตถุอันตราย เครื่องสำอางปลอม และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน ผู้ประกอบการ จำนวน 80 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
    -ค่าวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 4 ชม. x 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

    งบประมาณ 12,400.00 บาท
  • 2. ประชุมออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
    รายละเอียด

    1.ออกตรวจประเมินยกระดับร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการออกประเมินให้คำแนะนำ ร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ด้านสุขาภิบาลอาหารได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ในหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน
    2.ให้คำแนะนำตามเกณฑ์มาตรฐาน และตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร โดยคณะกรรมการจำนวน 12 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. 1 คน และตัวแทน อสม. 10 คน และตรวจติดตามทางกายภาพหมู่ละ 3 ครั้ง รวมเป็นจำนวน 15 ครั้ง
    3.ประชุมสรุปผลการออกตรวจประเมินและการให้คำแนะนำตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารจำนวน 15 ครั้ง
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกรรมการ ตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหารจำนวน 12 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 15 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท

    งบประมาณ 4,500.00 บาท
  • 3. ประชุม/ออกนิเทศ ตรวจประเมินได้ป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล
    รายละเอียด

    1.เตรียมรับการออกนิเทศ/ตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร เพื่อรับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) จาก สสจ.สตูล โดยการตรวจทางกายภาพและทางเคมี ด้วยน้ำยาตรวจอาหาร SI2 โดยคณะกรรมการจำนวน 9 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. 1 คน ,สสจ.สตูล 2 คน และตัวแทน อสม. 5 คน
    2.ติดตาม สรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เมื่อเส็จสิ้นการดำเนินงาน
    3.ประชุมออกนิเทศ ตรวจประเมิน สรุปปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการ ตรวจประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ของ สสจ.สตูลและคณะกรรมการ จำนวน 9 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 5 ครั้ง เป็นเงิน 1,125 บาท

    งบประมาณ 1,125.00 บาท
  • 4. ประชุมสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร
    รายละเอียด

    1.ประชุมคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน ,อสม. 11 คน รวมเป็นจำนวน 12 คน เพื่อสรุปผลการประเมินร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เมื่อเส็จสิ้นการดำเนินงานตามโครงการ
    2.สรุปปัญหา/อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการ จำนวน 12 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน คณะกรรมการ จำนวน 12 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท

    งบประมาณ 1,500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 19,525.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่าย

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85
  2. แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับป้าย อาหารสะอาด รสชาติอร่อย(Clean Food Good Test) ร้อยละ 60
  3. ร้อยละ 100 ของร้านชำ ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 19,525.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................