2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ความตอนหนึ่งของพระราชดำรัสของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี องค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) ความว่า โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) เป็นโครงการที่ต้องการดูแลป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด ต้องพยามยามสร้างมาตรการทางสังคม ในการที่จะช่วยป้องกันปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น เนื่องจากยาเสพติดได้เข้ามาชักจูงหรือครอบงำวัยรุ่นได้ง่าย เพราะทัศนะคติที่ถูกปลูกฝังในเด็กเยาวชนว่าแน่หรือเปล่า เมื่อเสพยาแล้วก็จะแน่ จะเท่ จะเป็นแมน จะเป็นคนกล้า การท้าทายกันแบบนี้ทำให้เด็กมีค่านิยมที่ผิดไป เมื่อมีค่านิยมที่ผิด ก็ต้องเปลี่ยนค่านิยมใหม่ เปลี่ยนทัศนคติใหม่ ในการแก้ปัญหายาเสพติดสำหรับเยาวชนนั้น ต้องสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเข้าใจถึงจิตใจ ความต้องการของเขา เพราะบางครั้งการเกิดปัญหายาเสพติดก็มาจากหลายสาเหตุ เราต้องสร้างค่านิยมใหม่ ต้องสร้างความมั่นใจให้เขารู้สึกดีกับตัวเอง ให้เขาได้สนุกโดยพยายามหากิจกรรมต่างๆมาใช้ เช่น ดนตรี กีฬา สิ่งเหล่านี้ทำให้คนมีสังคม มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตดี เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรมาร่วมด้วยกัน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดจากสังคมไทย ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ด้วยการทำงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกองค์กร ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน และการรวมตัวกันของผู้ที่มีความตั้งใจที่จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จะทำให้เกิดพลังในการร่วมกันป้องกันปัญหายาเสพติดอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมในโครงการ (TO BE NUMBER ONE) ซึ่งก่อตั้งมานานถึง 18 ปี สนองพระราชดำรัสขององค์ประธานโครงการ (TO BE NUMBER ONE) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ และสนองพระปณิธาน ดังนี้
1.ยุทธศาสตร์การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน
3.การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือได้ศึกษาข้อมูลการดำเนินงานโครงการ (TO BE NUMBER ONE) ของอำเภอปากพะยูนในอดีตที่ผ่านมาพบว่าการดำเนินงานของชมรม (TO BE NUMBER ONE) ในชุมชนยังไม่ปรากฏชัดเจนในเวทีระดับจังหวัด จึงจัดทำโครงการเพื่อเป็นการศึกษาและสร้างประสบการณ์ทั้งอาสานำร่องให้แก่ชุมชนอื่นๆในฐานะที่มีส่วนในการเป็นองค์กรเสริมด้านสุขภาพภาคประชาชนที่ดูแลสุขภาพจิต สุขภาพกาย และการป้องกันยาเสพติดในชุมชน เห็นว่าควรดำเนินการในเขตพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในปี 2564 ทั้งในชุมชมและสนับสนุนกิจกรรมในสถานศึกษาในพื้นที่ และประสานงานเข้าสู่ในส่วนราชการต่างๆตามรูปแบบและกระบวนการฌฉพาะของโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือและโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ซึ่งมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในคณะทำงานระดับจังหวัดพัทลุง เป็นการตอบสนองประเด็นสำคัญของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ) อำเภอปากพะยูน ทั้งเป็นการยกระดับผลงานและภาพลักษณ์ของตำบลหารเทาให้โดดเด่น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2021
กำหนดเสร็จ 31/08/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.มีแกนนำชมรม TO BE NUMBER ONE ครอบคลุมพื้นที่/องค์กรเป้าหมาย
2.หมู่บ้าน/ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ มีการจัดตั้ง/พัฒนาชมรม TO BE NUMBER ONE ครอบคลุมและเป็นรูปธรรม
3.ชมรม TO BE NUMBER ONE มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการ TO BE NUMBER ONE
4.สุขภาพของประชาชนดีขึ้น มีความรัก สามัคคี และสัมพันธภาพที่ดีในหมู่คณะ
5.กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการป้องกันยาเสพติด