กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดโพรงงู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงเรียนวัดโพรงงู

1. นางมานิตาศรีนาค
2. นางพิมฤดีโอนิกะ
3. นายธีระยุทธ์ ดำชู
4. นางสาววิลาสินี ทองเอียด
5. นายสมหมาย คงจร

โรงเรียนวัดโพรงงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับความรู้และสามารถแนะนำช่วยเหลือการปฐมพยาบาลให้กับนักเรียนในโรงเรียน

 

80.00
2 โรงเรียนประสบปัญหาสุขภาพในช่องปากและฟันของนักเรียน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

 

80.00
3 ร้อยละของนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

 

80.00
4 โรคติดต่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้นักเรียนบางคนไม่สามารถมาโรงเรียนได้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

 

75.00
5 พฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารหรือการเลือกซื้อของนักเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่สีสันต้องตาหรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณาตามสื่อประเภทต่างๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ทำให้ได้รับอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอันตรายหรือความปลอดภัย

 

80.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพยามเจ็บป่วยได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของนักเรียนดูแลสุขภาพยามเจ็บป่วยได้ดีขึ้น

80.00 90.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพของช่องปากและฟันที่ดี

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีสุขภาพในช่องปากและฟันที่ดีขึ้น

80.00 100.00
3 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญในการออกกำลังกาย

ร้อยละ 80 ของนักเรียนเห็นความสำคัญและออกกำลังกายทุกวัน

80.00 100.00
4 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรู้เท่าทันโรคไข้เลือดออกและโรคต่าง ๆ

อัตราป่วยของนักเรียนด้วยโรคต่าง ๆลดลง

75.00 100.00
5 เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

นักเรียนมีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 34
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 89
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 27/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมแกนนำนักเรียนปฐมพยาบาล

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมแกนนำนักเรียนปฐมพยาบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เลือกแกนนำนักเรียนปฐมพยาบาล ในระดับชั้น ป. 3 - ป. ุ6 ระดับชั้นละ 7 คน รวมจำนวน 28 คน และครูผู้รับผิดชอบ จำนวน 2 คน
  2. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 2.1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน รวม 3 ชม.ๆละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท (1 วัน)
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 750 บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดป้ายนิเทศให้ความรู้ 4.1 กระดาษโปสเตอร์สีจำนวน 36 แผ่นๆละ 12 บาท เป็นเงิน 432 บาท 4.2 ภาพโปสเตอร์เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลจำนวนุ6 แผ่นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 120 บาท 4.3 กระดาษปรู๊ฟ จำนวน 20 แผ่นๆ ละ 3 บาทเป็นเงิน 60 บาท 4.4 อุปกรณ์ตกแต่งบอร์ด

- ดอกไม้ตกแต่งบอร์ด จำนวน 24 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 720 บาท - มุมบอร์ด จำนวน 24 ชิ้นๆละ 18 บาท เป็นเงิน 432 บาท 5. ค่าวัสุอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น เป็นเงิน 2000 บาท
* ค่าใช้จ่ายถัวเฉลี่ย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีนักเรียนแกนนำการปฐมพยาบาล จำนวน 1 กลุ่ม ที่มีทักษะ และมีความรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  2. มีอุปกรณ์เพียงพอในการจัดกิจกรรม
  3. นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้โดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลจากการจัดป้ายนิเทศ และจากแกนนำนักเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5114.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฟันดีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฟันดีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ครูประจำชั้นคัดเลือกแกนนำนักเรียนแต่ละชั้นเรียน ห้องเรียนละ 3 คน
  2. รณรงค์ให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน
  3. แกนนำตรวจสอบการแปรงฟันหลังอาหาร พร้อมบันทึกผล
  4. กรณีเด็กฟันผุให้แกนนำรายงานผลให้ครูทราบ แจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ และส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล งบประมาณ

- ค่าป้ายโปสเตอร์ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 4 ผืนๆละ 432 บาท เป็นเงิน 1,728
- ค่าอุปกรณ์การแปรงฟัน 123 ชุด ๆละ 32 บาท เป็นเงิน 3,936 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีนักเรียนแกนนำในการดูแลตรวจสอบสอบการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนในโรงเรียน
  2. นักเรียนมีอุปกรณ์ในการแปรงฟันและแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
  3. นักเรียนฟันผุจากเดิมร้อยละ9 เมื่อนักเรียนแปรงฟันทุกวันทำให้อัตราฟันผุของนักเรียนลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5664.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขยับกายสลายโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขยับกายสลายโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เลือกนักเรียนแกนนำเพื่อฝึกซ้อม และนำเต้นแอโรบิค จำนวน 20 คน และครูผู้รับผิดชอบ จำนวน 3 คน ทุกเช้าวันพุธหน้าเสาธง
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาที่ร่วมกิจกรรม จำนวน 133 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,325 บาท
  3. ค่าวิทยากรแกนนำจำนวน 1 คน รวม 6 ชม. ๆละ 200 บาท (3 วัน) เป็นเงิน 1,200 บาท
  4. ซีดีเพลงเต้นแอโรบิค จำนวน 5 แผ่น ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีนักเรียนแกนนำในการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค
  2. นักเรียนทุกคนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5025.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรู้ทันป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรู้ทันป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นักเรียนและครูรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก โรคโควิด 19 โดยการจัดกิจกรรมให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลพร้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่ก่อให้เกิดโรคในโรงเรียน
  2. จัดกิจกรรมการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนและห้องน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  3. เดินรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันโรค และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย งบประมาณ
    • ป้ายไวนิลการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคโควิด 19 ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 9 ป้ายๆละ 432 บาท เป็นเงิน 3,088 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้และปฏิบัติตนในการดูแลตนเองเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3088.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร (อย.น้อย)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร (อย.น้อย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เลือกแกนนำ อย.น้อย จำนวน 10 คน ครูผู้รับผิดชอบ จำนวน 3 คน
  2. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร งบประมาณ
  3. ค่าวิทยากรแกนนำจำนวน 1 คน รวม 3 ชม. ๆละ 200 บาทเป็นเงิน 600 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียนและผู้รับผิดชอบ จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท
  5. ค่าชุดทดสอบสารบอแรกซ์ จำนวน 1 กล่อง ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท
  6. ค่าชุดทดสอบสารฟอกขาว จำนวน1 กล่อง ๆ ละ 100 ชิ้น x 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท
  7. ค่าชุดทดสอบสารฟอร์มาลีน จำนวน 1 กล่อง ๆ ละ 30 ชิ้น x 1,250 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  8. ป้ายไวนิลโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 2 แผ่นๆละ 432 บาท เป็นเงิน 864 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องหลักการเลือกซื้ออาหารที่ถูกต้อง สามารถตอบคำถามได้ และผ่านการกำหนดความรู้ทุกคน
    2.จากการทดสอบนักเรียนแกนนำสามารถตรวจหาสารปนเปื้อนจำนวน 3 ชนิด ได้แก่การตรวจหาสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว และสารฟอร์มาลีนได้ถูกต้อง
    3 กิจกรรมอบรมให้นักเรียน อย.น้อย ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3789.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับบุคลรอบข้างได้
2. นักเรียนมีสุขภาพของช่องปากและฟันที่ดีขึ้น
3. นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
4. อัตราการเกิดโรคลดลงและสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
5. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว


>