กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ชมรมแม่บ้านสี่ควนสองทุ่ง ตำบลนาหว้า

1. นางทิพวัลย์ ไชยดิษฐ์ โทร.08-6483-2526
2. นางวันเพ็ญ สังข์เวทย์
3. นางอุษณีย์ บุรีรัตน์
4. นางปราณีต แก้วทอง
5. นางละมัย ใหม่แก้ว

พื้นที่ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ

 

20.00
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

20.00
4 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

25.00

ปัจจุบันแรงงานนอกระบบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานนอกระบบคือผู้ที่ใช้แรงงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานจากนายจ้าง ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานที่ประกอบการของนายจ้างไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน เช่นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ ทำประมงพื้นบ้าน กรีดยาง เป็นต้นเนื่องจากอาชีพเกษตรกรคืออาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย โดยในปัจจุบันการทำอาชีพเกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมากขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลทางสถิติในการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรในปี พ.ศ.2562 มีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรสูงถึง 131,308 ตัน โดยสารเคมีที่นำเข้ามากที่สุดคือ สารกำจัดวัชพืช รองลงมา คือ สารป้องกันและกำจัดโรคพืช และสารกำจัดแมลง (สำนักงานเศรษฐกิจและการเกษตร, 1 เมษายน 2563) เมื่อมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้มากขึ้น และบางครั้งก็เลือกใช้สารที่ไม่ตรงกับศัตรูพืชที่มารบกวน หรือใช้ผสมรวมกันหลากหลายชนิด หรือสารเคมีแต่ละชนิดที่ใช้มีความเป็นพิษร้ายแรงสูง อาจทำให้เกษตรกรได้รับอันตราย เกิดอาการและความเจ็บป่วยต่างๆ ตามไปด้วย ชมรมแม่บ้านสี่ควนสองทุ่ง ตำบลนาหว้าได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่ตำบลนาหว้า มีประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสจะประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของเกษตรกร เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงาน มีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากการทำงาน รวมทั้งให้กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสุขภาพโดยการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเลือด เพื่อทำการเฝ้าระวังและได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและให้ความรู้ด้านการยศาสตร์ในการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการลดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพิ่มขึ้น (คน)

0.00 24.00
2 ลดร้อยละเกษตรกรที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของเกษตรกรที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพลดลง

20.00 10.00
3 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัยลดลง

20.00 0.00
4 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

25.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดทำกติกา ข้อตกลงรวมกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
การจัดทำกติกา ข้อตกลงรวมกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
  2. ค่าป้ายโครงการขนาดความกว้าง 1.5 เมตร ความยาว 2 เมตรๆ ละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 450 บาท
    หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทน อสม. หมู่ละ 3 คน (36 คน), ตัวแทนเจ้าหน้าที่ อบต. 2 คน และ ตัวแทน รพ.สต. จำนวน 2 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กติกาหรือข้อตกลงร่วมเพื่อลดความเสี่ยง แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1450.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาระบบหรือกลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาระบบหรือกลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การวิเคราะห์ควาเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ(๋JSA) อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มแรงงานนอกระบบการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (JSA) เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวะอนามัย (อส.อช.)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 24 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 24 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าวัสดุ/เอกสารการอบรม รวมเป็นเงิน 800 บาท
หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ตัวแทนหมู่บ้านละ 2 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกลไกอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อสนับสนุนและวิเคราะห์ควาเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ การเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ การเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดตรวจสารเคมีตกล้างในเลือดพร้อมอุปกรณ์ รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
  2. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตรวจสารเคมีในเลือด รวมเป็นเงิน 600 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆละ50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
  5. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
    หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรหมู่บ้านละ 5 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 4 การปรับสภาพแวดล้อมลดอันตรายจากการประกอบอาชีพการลดการใช้สารเคมี

ชื่อกิจกรรม
การปรับสภาพแวดล้อมลดอันตรายจากการประกอบอาชีพการลดการใช้สารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การลดการใช้สารเคมี โดยการใช้น้ำหมักสมุนไพรแทนการใช้สารเคมี ค่าใช้จ่าย
1. ค่าเศษผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร รวมเป็นเงิน 500 บาท
2. ถังน้ำพร้อมฝาปิด ขนาดความจุ 30 ลิตร จำนวน 60 ลูกๆ ละ 65 บาท รวมเป็นเงิน 3,900 บาท
3. จุลินทรีย์ EM EXTRA หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีเอ็มชีวภาพ ขนาด 1 ลิตร จำนวน 60 ขวดๆ ละ 70 บาท รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
4. กากน้ำตาลขนาด 60 ลิตรๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
5. น้ำหมัก รวมเป็นเงิน 300 บาท
หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรหมู่บ้านละ 5 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การปรับสภาพแวดล้อม และการยศาสตร์ในการประกอบอาชีพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

กิจกรรมที่ 5 การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีในเลือดครั้งที่ 2 และสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีในเลือดครั้งที่ 2 และสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
- จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการปัญหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเสี่ยง
- ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง
- เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด
- การสรุปผลการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตรวจสารเคมีในเลือด 1 คน ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆละ50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
5. ค่าจ้างทำเอกสารรูปเล่ม รวมเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 1 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ความเข็มแข็งของชุมชน สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและมีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ


>