กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของเกษตรกร
รหัสโครงการ 64-L5182-02-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแม่บ้านสี่ควนสองทุ่ง ตำบลนาหว้า
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพวัลย์ ไชยดิษฐ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (คน)
0.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ
20.00
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
20.00
4 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันแรงงานนอกระบบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานนอกระบบคือผู้ที่ใช้แรงงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานจากนายจ้าง ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานที่ประกอบการของนายจ้างไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน เช่นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ ทำประมงพื้นบ้าน กรีดยาง เป็นต้นเนื่องจากอาชีพเกษตรกรคืออาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย โดยในปัจจุบันการทำอาชีพเกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมากขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลทางสถิติในการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรในปี พ.ศ.2562 มีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรสูงถึง 131,308 ตัน โดยสารเคมีที่นำเข้ามากที่สุดคือ สารกำจัดวัชพืช รองลงมา คือ สารป้องกันและกำจัดโรคพืช และสารกำจัดแมลง (สำนักงานเศรษฐกิจและการเกษตร, 1 เมษายน 2563) เมื่อมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้มากขึ้น และบางครั้งก็เลือกใช้สารที่ไม่ตรงกับศัตรูพืชที่มารบกวน หรือใช้ผสมรวมกันหลากหลายชนิด หรือสารเคมีแต่ละชนิดที่ใช้มีความเป็นพิษร้ายแรงสูง อาจทำให้เกษตรกรได้รับอันตราย เกิดอาการและความเจ็บป่วยต่างๆ ตามไปด้วย ชมรมแม่บ้านสี่ควนสองทุ่ง ตำบลนาหว้าได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่ตำบลนาหว้า มีประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสจะประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของเกษตรกร เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงาน มีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากการทำงาน รวมทั้งให้กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสุขภาพโดยการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเลือด เพื่อทำการเฝ้าระวังและได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและให้ความรู้ด้านการยศาสตร์ในการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการลดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพิ่มขึ้น (คน)

0.00 24.00
2 ลดร้อยละเกษตรกรที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของเกษตรกรที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพลดลง

20.00 10.00
3 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัยลดลง

20.00 0.00
4 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

25.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 43,350.00 0 0.00
2 ก.พ. 64 การจัดทำกติกา ข้อตกลงรวมกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ 0 1,450.00 -
9 ก.พ. 64 การพัฒนาระบบหรือกลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง 0 6,800.00 -
15 ก.พ. 64 ปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ การเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1 0 14,200.00 -
22 ก.พ. 64 - 22 ก.พ. 65 การปรับสภาพแวดล้อมลดอันตรายจากการประกอบอาชีพการลดการใช้สารเคมี 0 10,400.00 -
1 มี.ค. 64 การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีในเลือดครั้งที่ 2 และสรุปผลการดำเนินงาน 0 10,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกษตรกรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและมีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 13:58 น.