กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านค้าเป็นมิตรกับสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก

หมู๋ที่ ๒,๖,๗,๘,๑๐,๑๑ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง ตังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันร้านค้าไม่ว่าจะเป็นแผงลอย ร้านชำ หรือร้านอาหาจะมีการนำถุงพลาสติกและโฟมมาเป็นวัสดุในการบรรจุภัณฑ์สินค้าที่จำหน่ายเพื่อความสะดวกในการพกพา อีกทั้งมีราคาไม่สูงสะดวกในการหาซื้อ น้ำหนักเบา ใช้แล้วทิ้งได้เลย จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่ แผงลอย รถเข็น ร้านอาหาร นิทรรศการ ตลาดนัดหรือแม้แต่งานเทศกาลต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของจาน ถ้วยกาแฟ ถ้วยก๋วยเตี๋ยว ถาดรองผัก/เนื้อในซุปเปอร์มาเก็ต เป็นต้น ซึ่งบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ถือว่าเป็นภาชนะบรรจุอาหารประเภทโฟม ที่ทำมาจากพลาสติกชนิดที่มีชื่อว่า โพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือ PS Foam หรือ Styrene Foam ซึ่งเป็นสารโพลีเมอร์ (Polymer) จำพวกหนึ่ง กรรมวิธีการผลิตคือเอา PS Foam ไปผ่านความร้อนด้วยไอน้ำจากนั้นจะนำไปรีดให้เป็นแผ่น เรียกแผ่นโพลิสไตรีน (Polystyrene Paper Foam หรือย่อว่า PSP) ก่อนที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่ไม่ทนต่ออาหารที่มีอุณหภูมิสูง รวมถึงอาหารที่มีไขมันหรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดการปล่อยสารสไตรีน (Styrene) ออกมา ซึ่งสารนี้เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง อาจทำให้ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีสารสไตรีนเจือปนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้
ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลมะรือโบออก มีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร ห่างไกลจากสารก่อมะเร็ง และสนองนโยบายและมาตรการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออกตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ.2559 -2564 โดยมีนโยบายให้ทุกภาคส่วนคัดแยกขยะ ปฏิเสธภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลดใช้ถุงพลาสติก นั้น ในการนี้ สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออกจึงได้จัดทำโครงการ“ร้านค้าเป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้าได้ตระหนักถึงภัยใกล้ตัวที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนลด ความเลี่ยงจากการได้รับ สารพิษก่อมะเร็งประเภท สไตรีน

ประชาชนร้อยละ 70 ห่างไกลจากสารก่อมะเร็ง

35.00 45.00
2 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 ของร้านค้าใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

35.00 45.00
3 3. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนปฏิเสธภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลดใช้ถุงพลาสติกตามประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก เรื่อง นโยบายและมาตรการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก

 

35.00 45.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องสถานการณ์การป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องสถานการณ์การป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 35 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ (รวมเจ้าหน้าที่โครงการและวิทยากร จำนวน 5 คน) เป็นเงิน 1,750.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 35 คนๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ (รวมเจ้าหน้าที่โครงการและวิทยากร) เป็นเงิน 2,100.-บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.-บาท
  4. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1X2 ม. ตารางเมตรละ 250บาท เป็นเงิน 500.- บาท
  5. ค่าสมุด ปากกา จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 450.- บาท
  6. ค่ากระเป๋าใส่เอกสารจำนวน 30 ใบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมสาธิตการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการร้านค้าใส่ใจสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมสาธิตการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการร้านค้าใส่ใจสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุในการสาธิตบรรจุภัณฑ์ เป็นเงิน 500.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมรณรงค์การเลิกใช้โฟม และลดใช้ถุงพลาสติก

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมรณรงค์การเลิกใช้โฟม และลดใช้ถุงพลาสติก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่สามารถลดความเสี่ยงจากการได้รับสารพิษก่อมะเร็งประเภทสไตรีน
2. ผู้ประกอบการร้านค้าเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
3. ประชาชนมีความตระหนักในการงดใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลดใช้ถุงพลาสติก


>