กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ ในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกและชุมชน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก (MERS-CoV และ COVID - 19)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ ในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกและชุมชน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก (MERS-CoV และ COVID - 19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางวรรณะ วิเชียรรัตน์

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก และ ชุมชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. จำนวนครั้งการเกิดการระบาด

 

0.00

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ เป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นอย่างมาก อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมมนุษย์ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งภาวะโลกร้อนซึ่งมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้จากการระบาดของโรคอีโบลา ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ และอื่นๆนั้นได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อมนุษย์จำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับโรคระบาดอื่นๆแต่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางและรุนแรง
ปี 2555พบการระบาดของโรคเมอร์ส ในประเทศแถบตะวันออกกลาง และประเทศอื่นๆรวม 22ประเทศ ในกลุ่มแพทย์พยาบาลในประเทศจอร์แดนที่ดูแลผู้ป่วย และเดือนเมษายน-กันยายน 2556 มีการระบาดในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศซาอุดิอาระเบียรวมทั้งมีการระบาดในชุมชนประปราย และมีการแพร่กระจายเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
และความเสี่ยงสำหรับประเทศไทยและพื้นที่คือ ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามที่เดินทางไปแสวงบุญทั้งไปประกอบพิธีฮัจญ์ ในช่วงเดือน กันยายน-พฤศจิกายน ของทุกปี และประกอบพิธีอุมเราะห์ที่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี นักท่องเที่ยวชาวไทยทั่วไปที่เดินทางไป รวมถึงนักท่องเที่ยวจากประเทศในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคที่เดินทางเข้ามาเพื่อท่องเที่ยว ตลอดจนแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศที่มีการระบาด
ปี 2563 พบการเกิดการระบาด ของโรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ต้องมีการดำเนินการในการเฝ้าระวังและการเตรียมความพร้อมที่เข้มข้น ตั้งแต่การคัดกรองที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองชุมชน และโรงพยาบาล มีการทบทวนเรื่องระบบคัดกรองการดูแลผู้ป่วยอาคารสถานที่เพื่อให้ผู้ป่วยที่สงสัยผู้ปฏิบัติงาน เช่นอสม.บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความปลอดภัย
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้มีการจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อไม่เกิดการแพร่กระจายเชื้อและระบาดในโรงพยาบาลและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้เรื่องโรคการป้องกันการแพร่กระจายของโรคและมีความพร้อมในการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ที่สงสัย

ร้อยละของบุคลากร ผู้ปฎิบัติงาน ปฏิบัติตามแนวทางได้ถูกต้อง

80.00 85.00
2 เพื่อเกิดความปลอดภัยจากการทำงานและ ไม่เกิดการระบาดของโรคในโรงพยาบาลและชุมชน

จำนวนครั้งการเกิดการระบาดของโรค

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ให้ความรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำและฝึกปฏิบัติการใส่-ถอดเครื่องป้องกันร่างกาย

ชื่อกิจกรรม
1.ให้ความรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำและฝึกปฏิบัติการใส่-ถอดเครื่องป้องกันร่างกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะกรรมการและประสานงานหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ
2.จัดเตรียมเอกสารและเตรียมอุปกรณ์ในการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ
3.ฟื้นฟูความรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ และฝึกปฏิบัติการใส่-ถอดเครื่องป้องกันร่างกาย
4.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดซื้อชุดอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่ายกาย
5.ประสานวิทยากรให้ความรู้
6.สรุปและประเมินผลโครงการ
งบประมาณ
1. อสม.และผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 50 คนx 25 บาทx 2มื้อx 2ครั้ง        เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน             จำนวน 50 คนx 50 บาทx 1มื้อx 2ครั้ง        เป็นเงิน 5,000 บาท
2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  และผู้ที่เกี่ยวข้อง
   -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 90 คนx 25 บาทx 2 มื้อx 2ครั้ง        เป็นเงิน 9,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน             จำนวน 90 คนx 50 บาทx 1 มื้อx 2ครั้ง        เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าวิทยากรบรรยาย  ชั่วโมงละ  600 บาทx  1.5 ชั่วโมง x 2 คน x  4 ครั้ง   เป็นเงิน  7,200 บาท
- ค่าวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ ชั่วโมงละ  300 บาท x 3 ชั่วโมง x3 คน x 4 ครั้ง  เป็นเงิน  10,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เรื่องโรคเพิ่มขึ้น และสามารถใส่-ถอดเครื่องป้องกันร่างกายได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46000.00

กิจกรรมที่ 2 2.การซ้อมแผนรับผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
2.การซ้อมแผนรับผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การซ้อมแผนรับผู้ป่วยที่ชุมชน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการซ้อมแผน
- จัดทำเอกสารแนวทางการประเมินการซ้อมแผนรับผู้ที่สงสัย
- สรุปผลการซ้อมแผน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง   จำนวน 30 คน x25 บาทx 1 มื้อx 2 ครั้ง     เป็นเงิน 1,500 บาท
  กิจกรรมซ้อมแผน
  - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มน   จำนวน 80 คน x25 บาทx 2 มื้อ x1 ครั้ง       เป็นเงิน 4,000  บาท
  - ค่าอาหารกลางวัน           จำนวน 80 คนx 50 บาทx 1 มื้อ x 1 ครั้ง        เป็นเงิน 4,000   บาท
  - ค่าวัสดุ                                                                               เป็นเงิน  27,220 บาท
2. การซ้อมแผนรับผู้ป่วยที่สงสัยจากชุมชนหรือในอำเภอสุไหงโก-ลกที่โรงพยาบาล
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการซ้อมแผน
- จัดทำเอกสารแนวทางการประเมินการซ้อมแผนรับผู้ที่สงสัย
- สรุปผลการซ้อมแผน
งบประมาณ
1. ประชุมทีม
   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   จำนวน 50 คนx 25 บาทx 1 มื้อx 2 ครั้ง     เป็นเงิน 2,500 บาท
2.การซ้อมแผนรับผู้ป่วยที่สงสัย
   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   จำนวน 70 คนx 25 บาทx 2 มื้อx 4 ครั้ง     เป็นเงิน 14,000 บาท
   - ค่าอาหารกลางวัน              จำนวน 70 คนx 50 บาทx 1 มื้อ x2 ครั้ง     เป็นเงิน 14,000 บาท
- ค่าวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ ชั่วโมงละ  300 บาท x 1 ชั่วโมง x4 คน x 2 ครั้ง  เป็นเงิน  2,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคลากรทางการแพทย์อสม. และผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแนวทางทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
69620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 115,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยโรคอุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ
2. มีความเข้าใจพยาธิสภาพของโรคและการแพร่กระจายของโรคได้มากขึ้น
3.ทีมที่ดูแลผู้ป่วย และทีมที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมในการดูแลการส่งต่อ และการรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล
4.ไม่เกิดการระบาดในโรงพยาบาลและชุมชน


>