กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมจากครอบครัวสู่ชุมชน ตำบลโคกชะงาย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1. นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
2. นางเพ็ญ ขาวมาก
3. นายชรินทร์ หนูเกื้อ
4. นางวรรณดี ช่วยมั่ง
5. นางสาวชนม์นิภา ธรรมเพชร

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

11.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

4.00

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาขยะมีเพิ่มมากขึ้นและเป็นปัญหาสำหรับชุมชน หากขยะในครัวเรือนไม่ได้มีการจัดการที่ถูกต้อง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค คือ หนู แมลงสาป แมลงวัน ยุงลาย เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู เป็นต้น จากการลงพื้นที่ในชุมชนกรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลโคกชะงาย พบว่า ครัวเรือนมีปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน โดยเฉพาะขยะ และภาชนะเหลือใช้ เช่น ขวดน้ำ แก้วน้ำพลาสติก ยางรถยนต์ กระถาง กะละมัง เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการทำลายอีกทั้งประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 จนถึงปัจจุบัน อำเภอเมืองพัทลุง มีนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ซึ่งเน้นการแก้ปัญหาเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน ตำบลโคกชะงายรับทราบนโยบายดังกล่าวและพร้อมดำเนินการในพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2562-2563 ในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่ทุกหมู่บ้านเพื่อร่วมกันหามาตรการการจัดการขยะกำหนดให้มีมาตรการเริ่มคัดแยกขยะเปียก และขยะแห้ง ที่บ้านก่อนทิ้งออกสู่ชุมชน สำหรับขยะเปียก เศษอาหาร เสนอให้มีการจัดทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ประโยชน์การปลูกผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมจากครอบครัวสู่ชุมชน ตำบลโคกชะงาย ปี 2564 ขึ้น เพื่อต่อเนื่องกับโครงการปี 2562 และต่อยอดจากมาตรการของหมู่บ้านที่ได้มาจากปี 2563 โดยการจัดอบรม ครู ก การจัดการขยะในครัวเรือน ติดตามและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบให้ครัวเรือนอื่นการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในครัวเรือนและชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ช่วยลดปัญหาขยะที่สามารถจัดการได้เองที่บ้านและลดปัญหาเรื่องโรคติดต่อที่มีปัจจัยมาจากขยะอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้กับแกนนำการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์

แกนนำทุกคนสามารถการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์ได้

11.00 120.00
2 เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน

ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน

4.00 6.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไปที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 120

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม ครู ก การจัดการขยะในครัวเรือนและการทำปุ๋ยอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
อบรม ครู ก การจัดการขยะในครัวเรือนและการทำปุ๋ยอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • อาหารกลางวัน จำนวน 120 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 2 เมตร ตรม.ละ 180 บาทจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 540 บาท
  • ถังมีฝาปิด จำนวน 120 ใบๆละ 100 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
  • กากน้ำตาล (5 ลิตร) จำนวน 12 แกลลอนๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำทุกคนสามารถการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31740.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการฯคัดเลือกฯ 3 คนๆละ 2 วันๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • เกียรติบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 30 ชิ้นๆละ 150 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,440.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- แกนนำทุกคนสามารถการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์ได้
- ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
- ลดปัญหาขยะและปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคติดต่อที่มีสัตว์เป็นพานะนำโรคในชุมชน


>