กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาโภชนาการเด็กในโรงเรียนบ้านหว้าหลัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

โรงเรียนบ้านหว้าหลัง

โรงเรียนบ้านหว้าหลัง ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

80.00
2 จำนวนนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้า

 

15.00

การพัฒนาชาติที่สำคัญคือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุด อันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคนคือการพัฒนาสุขภาพอนามัยเพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก อาหารนับเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประโยชน์ของการรับประทานอาหารมื้อเช้าส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสมองของเด็กๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น

80.00 85.00
2 จำนวนนักเรียนที่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้า

จำนวนนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้าลดลง

15.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 4
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 23
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
จำนวนผู้ปกครอง/ครู/บุคลากร/กรรมการสถานศึกษา 23

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/01/2021

กำหนดเสร็จ 09/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประกาศนโยบายสาธารณะด้านอาหารของโรงเรียน เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วม เกิดมาตรการของโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
การประกาศนโยบายสาธารณะด้านอาหารของโรงเรียน เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วม เกิดมาตรการของโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมครู บุคลากร คณะกรรมการศึกษา และผู้ปกครอง ประกาศนโยบายโรงเรียน ร่วมกันกำหนดมาตรการและทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 23 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 575 บาท
หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ปกครอง ครู บุคลากร กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหว้าหลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มกราคม 2564 ถึง 19 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นโยบาย มาตรการต่างๆ และบันทึกข้อตกลงร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
575.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ การพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคส่งเสริมการรวมกลุ่มและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,250 บาท
หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครู บุคลากร กรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน, นักเรียน จำนวน 27 คน และผู้ปกครอง จำนวน 16 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2564 ถึง 20 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ในการรับประทานอาหารเช้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดอาหารเช้าแก่เด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า

ชื่อกิจกรรม
การจัดอาหารเช้าแก่เด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนการจัดทำอาหารเช้า
ค่าใช้จ่าย 1. ค่าจ้างจัดทำอาหารเช้า จำนวน 55 มื้อๆ ละ 15 ชุดๆ ละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 16,200 บาท หมายเหตุ....กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มกราคม 2564 ถึง 9 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนจะได้รับอาหารเช้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 4 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารการเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ การมีอาหารคุณภาพ ปลอดภัย และการใช้ประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารการเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ การมีอาหารคุณภาพ ปลอดภัย และการใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. โรงเรียนปลูกพืชผักรั้วกินได้ เพื่อแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
  2. ส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของโรงเรียน
  3. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในโรงเรียน
  4. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัวของโรงเรียน

ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย
4.1 เมล็ดพันธุ์ผัก 60 ซองๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท
4.2 ปุ๋ย 2 กระสอบๆ ละ 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
4.3 จอบ 15 ด้ามๆ ละ 280 บาท รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
4.4 ผ้ายางปูโต๊ะห้องครัว 14 ผืนๆ ละ 250 บาท รวมเป็นเงิน 3,500 บาท
4.5 ตะกร้าใส่ถังขยะ 10 ใบๆ ละ 120 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มกราคม 2564 ถึง 26 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โรงเรียนมีพืชผักรั้วกินได้ที่ปลอดสารพิษ
  2. นักเรียนรู้จักใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
  3. นักเรียนมีส่วนในการปลูกผักร่วมกัน
  4. โรงครัวหรือโรงอาหาร/ร้านจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานสุขภิบาลอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

กิจกรรมที่ 5 การประเมินภาวะโภชนาการการเจริญเติบโตของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
การประเมินภาวะโภชนาการการเจริญเติบโตของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การประเมินภาวะโภชนาการการจากน้ำหนัก ส่วนสูง โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงก่อนดำเนินโครงการทุกๆ 1 เดือน จนเสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มกราคม 2564 ถึง 9 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประเมินภาวะโภชนาการจากน้ำหนัก และส่วนสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,225.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าทำให้มีจิตใจร่าเริงแจ่มใสและมีสุขภาพกายที่ดีขึ้น
2. นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนทุกคน
3. นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
4. นักเรียนมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าจนติดเป็นนิสัย


>