กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายวัชริศเจ๊ะเลาะโทร.081-5433221

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังเผชิญอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงภายใต้กระแสของสังคมบริโภคนิยม คือ การเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กลุ่มโรคนี้เป็นภัยเงียบ หรือฆาตรกรเงียบ ซึ่งอุบัติขึ้นคุกคามและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผู้เสียชีวิตจากโรคจากวิถีชีวิต 35 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ล้านคนทั่วโลก ผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ผู้ที่เป็นโรคกลุ่มนี้อาจตายก่อนวัยอันควร หรือ เกิดความพิการ ทำให้เป็นภาระและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาไปตลอดชีวิต
โดยโครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นโครงการที่ชมรม อสม. จัดทำขึ้นทุกปี และ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2559 ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมคัดกรองสุขภาพทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ผลตอบรับจากชาวชุมชนค่อนข้างดี มีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น และมีผู้รับบริการรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกเดือน ส่วนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ติดบ้านก็ได้รับการเยี่ยมบ้าน โดยสมาชิก อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการ ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและประชาชนกลุ่มป่วย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดให้มีการดำเนินโครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2564 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรอง เฝ้าระวัง และส่งเสริมให้ชาวชุมชน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

 

0.00
2 เพื่อเป็นการคัดกรองและค้นหาผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนและส่งต่อเพื่อรับการรักษาตามกระบวนการ

มีการนำส่งข้อมูลกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองให้แก่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกโดยตรงทุกๆ 6 เดือน

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้มีการดูแล และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดย อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,357
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ้มเป้าหมาย
ประชาชนในชุมชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ใน 28 ชุมชน (ยกเว้นชุมชนหลังด่าน) จำนวน 2,357 คน
กิจกรรม ดังนี้
- ประชุมคณะกรรมการ อสม. ,คณะกรรมการชุมชน เพื่อวางแผนรูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมกัน
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2
- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในโครงการ
- จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ โดยมีกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเชิงรุกในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง (6 เดือน/ครั้ง) ได้แก่ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และคำนวณดัชนีมวลกาย เป็นต้น ,กิจกรรมสอนสุขศึกษารายบุคคล/รายกลุ่ม ,กิจกรรมการออกกำลังกาย ,กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต, กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และการส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติไปยังศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 พบแพทย์เพื่อรับการรักษาตามกระบวนการต่อไป
งบประมาณ ดังนี้
- ชุดตรวจน้ำตาลในเลือด กล่องละ 500 บาท จำนวน 160 กล่อง เป็นเงิน 80,000 บาท
- กระปุกสแตนเลสใส่สำลี กระปุกละ 200 บาท จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 200 บาท
- ถุงมือ กล่องละ 100 บาท จำนวน 30 กล่อง เป็นเงิน 3,000 บาท
- แอลกอฮอล์ 70% (60 ml) จำนวน 120 ขวด ขวดละ 9 บาท เป็นเงิน 1,080 บาท
- สำลีปั้นก้อน 48 ถุง(1 ลัง) ถุงละ 80 บาท เป็นเงิน 3,840 บาท
- ค่าเอกสาร 200 บาท/ชุมชน x 28 ชุมชน เป็นเงิน 5,600 บาท
รวมเป็นเงิน 93,720 บาท

- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานใน 28 ชุมชน (ทุกชุมชนยกเว้นชุมชนหลังด่าน) รายละเอียดค่าใช้จ่ายแยกตามชุมชน ดังนี้
1. ชุมชนกูโบร์ กลุ่มเป้าหมาย 80 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 80 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท
รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
2. ชุมชนโต๊ะลือเบ กลุ่มเป้าหมาย 70 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 70 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,500 บาท
รวมเป็นเงิน 3,500 บาท
3. ชุมชนตันหยงมะลิ กลุ่มเป้าหมาย 118 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 118 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,900 บาท
รวมเป็นเงิน 5,900 บาท
4. ชุมชนโกลกวิลเลจ กลุ่มเป้าหมาย 90 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 90 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท
รวมเป็นเงิน 4,500 บาท
5. ชุมชนบือเร็ง กลุ่มเป้าหมาย 70 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 70 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,500 บาท
รวมเป็นเงิน 3,500 บาท
6. ชุมชนกือดาบารู กลุ่มเป้าหมาย 60 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 60 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
7. ชุมชนกือบงกาแม กลุ่มเป้าหมาย 100 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 100 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
8. ชุมชนหัวสะพาน กลุ่มเป้าหมาย 68 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 68 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,400 บาท
รวมเป็นเงิน 3,400 บาท
9. ชุมชนเสาสัญญาณ กลุ่มเป้าหมาย 95 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 95 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,750 บาท
รวมเป็นเงิน 4,7450 บาท
10. ชุมชนดงงูเห่า กลุ่มเป้าหมาย 65 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 65 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,250 บาท
รวมเป็นเงิน 3,250 บาท
11. ชุมชนสวนมะพร้าว กลุ่มเป้าหมาย 40 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 40 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท
รวมเป็นเงิน 2,000 บาท
12. ชุมชนมัสยิดกลาง กลุ่มเป้าหมาย 60 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 60 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
13. ชุมชนจือแรตูลี กลุ่มเป้าหมาย 100 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 100 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
14. ชุมชนสันติสุข กลุ่มเป้าหมาย 228 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 228 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 11,400 บาท
รวมเป็นเงิน 11,400 บาท
15. ชุมชนบาโงปริเม็ง กลุ่มเป้าหมาย 125 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 125 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,250 บาท
รวมเป็นเงิน 6,250 บาท
16. ชุมชนบาโงเปาะเล็ง กลุ่มเป้าหมาย 45 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 45 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,250 บาท
รวมเป็นเงิน 2,250 บาท
17. ชุมชนโปฮงยามู กลุ่มเป้าหมาย 86 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 86 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,300 บาท
รวมเป็นเงิน 4,300 บาท
18. ชุมชนอริศรา กลุ่มเป้าหมาย 100 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 100 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
19. ชุมชนเจริญสุข กลุ่มเป้าหมาย 50 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท
รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
20. ชุมชนหัวกุญแจ กลุ่มเป้าหมาย 50 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท
รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
21. ชุมชนท่ากอไผ่ กลุ่มเป้าหมาย 45 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 45 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,250 บาท
รวมเป็นเงิน 2,250 บาท
22. ชุมชนท่าประปา กลุ่มเป้าหมาย 50 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 50 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท
รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
23. ชุมชนท่าโรงเลื่อย กลุ่มเป้าหมาย 35 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 35 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,750 บาท
รวมเป็นเงิน 1,750 บาท
24. ชุมชนหลังล้อแม็กซ์ กลุ่มเป้าหมาย 80 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 80 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท
รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
25. ชุมชนศรีอามาน กลุ่มเป้าหมาย 147 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 147 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,350 บาท รวมเป็นเงิน 7,350 บาท
26. ชุมชนทรายทอง กลุ่มเป้าหมาย 150 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 150 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,500 บาท
รวมเป็นเงิน 7,500 บาท
27. ชุมชนบือเร็งใน กลุ่มเป้าหมาย 80 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 80 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท
รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
28. ชุมชนซรีจาฮายา กลุ่มเป้าหมาย 70 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 70 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,500 บาท
รวมเป็นเงิน 3,500 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 117,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับทราบภาวะสุขภาพเบื้องต้นของตนเอง และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
211570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 211,570.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
2. โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้รับข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังจากการคัดกรองโดยตรงจากชมรม อสม.ทุกๆ 6 เดือน เพื่อติดตามและให้การรักษาตามขั้นตอนต่อไป
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแล และมีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่
3. ผุ้เข้าร่วมโครงการที่ป่วยโรคเรื้อรังติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับบริการสุขภาพที่บ้าน


>