กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่ รหัส กปท. L2981

อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ตำบลนาประดู่
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่2
3.
หลักการและเหตุผล

โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) เช่น กลุ่มโรงทอผ้า ร้านเสริมสวย บริการซัก – รีด ร้านอาหาร ขายเสื้อผ้า รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างแต่งหน้า ซ่อมรถยนต์ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนและคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว โรคจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพคือโรคใด ๆ (อาจเป็นได้ทั้งโรคเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรั้ง)อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินกิจกรรมอื่นใดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอาชีพ เช่น อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ พิษจากสารตะกั่ว สารเคมี โรคทางเดินหายใจ เครียด เป็นต้น การสำรวจสาเหตุของการได้รับบาดเจ็ดและอุบัติเหตุจากการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบในปี พ.ศ. 2544 มีจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 3.7 ล้านคน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็ดมากที่สุดมาจากการถูกของมีคมบาดถึงร้อยละ 67.3 รองลงมา คือการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 12.3 สาเหตุจากการชนและการกระแทกคิดเป็นร้อยละ 8.7 สาเหตุจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ร้อยละ 4.8 การสัมผัสสารเคมี ร้อยละ 3.0 เกิดอุบัติเหตุจากยานพาหนะ ร้อยละ 2.9 และสาเหตุจากไฟฟ้าช็อต ร้อยละ 0.6 ปัญหาทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของแรงการนอกระบบที่มีปัญหาจากความไม่ปลอดภัยในการทำงานมากที่สุดเกิดจากได้รับหรือสัมผัสสารเคมีที่อันตราย ร้อยละ 65.0 และเกิดจากเครื่องจักรเครื่องมือที่เป็นอันตราย ร้อยละ 21.8 และปัญหาที่เกิดจากการได้รัยอันตรายต่อระบบหูและระบบตา คิดเป็นร้อยละ 6.1 สำหรับปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำงานในท่าทางซ้ำ ไม่มีการเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน ร้อยละ 44.2 รองลงมาคือ ฝุ่น ละออง ควัน กลิ่น ร้อยละ 17.8 และมีแสงสว่างในการทำงานไม่เพียงพอ ร้อยละ 17.0 ปัญหาด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มีเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน มีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการทำงาน และมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสมมีการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษจากการใช้สารฟอกย้อมผ้าและไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพในกลุ่มอาชีพรับจ้างเย็บผ้า ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และมีปัญหาสูงสุดคือด้านการยศาสตร์ โดยเกิดจากลักษณะท่าทางการทำงาน การทำงานเป็นเวลานาน ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานขาดการฝึกอบรม มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงาน จากการทบทวนปัญหาจากการทำงานของแรงงานนอกระบบโดยทั่วไปจะเห็นได้ว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ ด้านสวัสดิการในการทำงาน การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำต่อการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเจ็บป่วย โรคจากการทำงานหรือเกิดอุบัติเหตุ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาความเสี่ยงด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบเฉพาะกลุ่มอาชีพ เพื่อนำลักษณะการทำงานที่อาจทำให้มีความเสี่ยงจากการทำงานและนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาการบริการด้านสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคจากการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมตามความเสี่ยงในการทำงาน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 25.00
  • 2. เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน
    ตัวชี้วัด : มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 5.00
  • 3. เพื่อลดภาวะเครียดวิตกกังวลในผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 25.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
    รายละเอียด
    • ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูลและบันทึกข้อมูล จำนวน 7 คน จำนวน 10 ชุด/คน จำนวน 710 ชุด ๆละ 20 บาทเป็นเงิน 1,400 บาท
    งบประมาณ 1,400.00 บาท
  • 2. อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของการประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม ผู้เข้าร่วมและวิทยากร จำนวน50 ชุดชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมและวิทยากร จำนวน 50 ชุด ชุดละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 วัน จำนวน6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (กระดาษโฟรชาร์ท,สมุด,กระเป๋า,ปากกาลูกลื่น,ปากกาเคมี) เป็นเงิน 1,500 บาท
    • ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 600 บาท
    งบประมาณ 11,200.00 บาท
  • 3. อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่มผู้เข้าร่วมและวิทยากรจำนวน 50 ชุด ชุดละ 60 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารว่างพร้อมน้ำดื่มผู้เข้าร่วมและวิทยากร จำนวน 50 ชุด ชุดละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท
    งบประมาณ 10,100.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 22,700.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการทุกกิจกรรม

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่
  2. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่
  3. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่ รหัส กปท. L2981

อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่ รหัส กปท. L2981

อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 22,700.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................