กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ตำบลนาประดู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่2

องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

20.00
2 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

0.00
3 ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล

 

20.00

โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) เช่น กลุ่มโรงทอผ้า ร้านเสริมสวย บริการซัก – รีด ร้านอาหาร ขายเสื้อผ้า รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างแต่งหน้า ซ่อมรถยนต์ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนและคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว โรคจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพคือโรคใด ๆ (อาจเป็นได้ทั้งโรคเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรั้ง)อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินกิจกรรมอื่นใดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอาชีพ เช่น อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ พิษจากสารตะกั่ว สารเคมี โรคทางเดินหายใจ เครียด เป็นต้น
การสำรวจสาเหตุของการได้รับบาดเจ็ดและอุบัติเหตุจากการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบในปี พ.ศ. 2544 มีจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 3.7 ล้านคน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็ดมากที่สุดมาจากการถูกของมีคมบาดถึงร้อยละ 67.3 รองลงมา คือการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 12.3 สาเหตุจากการชนและการกระแทกคิดเป็นร้อยละ 8.7 สาเหตุจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ร้อยละ 4.8 การสัมผัสสารเคมี ร้อยละ 3.0 เกิดอุบัติเหตุจากยานพาหนะ ร้อยละ 2.9 และสาเหตุจากไฟฟ้าช็อต ร้อยละ 0.6 ปัญหาทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของแรงการนอกระบบที่มีปัญหาจากความไม่ปลอดภัยในการทำงานมากที่สุดเกิดจากได้รับหรือสัมผัสสารเคมีที่อันตราย ร้อยละ 65.0 และเกิดจากเครื่องจักรเครื่องมือที่เป็นอันตราย ร้อยละ 21.8 และปัญหาที่เกิดจากการได้รัยอันตรายต่อระบบหูและระบบตา คิดเป็นร้อยละ 6.1 สำหรับปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำงานในท่าทางซ้ำ ไม่มีการเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน ร้อยละ 44.2 รองลงมาคือ ฝุ่น ละออง ควัน กลิ่น ร้อยละ 17.8 และมีแสงสว่างในการทำงานไม่เพียงพอ ร้อยละ 17.0
ปัญหาด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มีเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน มีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการทำงาน และมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสมมีการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษจากการใช้สารฟอกย้อมผ้าและไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพในกลุ่มอาชีพรับจ้างเย็บผ้า ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และมีปัญหาสูงสุดคือด้านการยศาสตร์ โดยเกิดจากลักษณะท่าทางการทำงาน การทำงานเป็นเวลานาน ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานขาดการฝึกอบรม มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงาน จากการทบทวนปัญหาจากการทำงานของแรงงานนอกระบบโดยทั่วไปจะเห็นได้ว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ ด้านสวัสดิการในการทำงาน การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำต่อการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเจ็บป่วย โรคจากการทำงานหรือเกิดอุบัติเหตุ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาความเสี่ยงด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบเฉพาะกลุ่มอาชีพ เพื่อนำลักษณะการทำงานที่อาจทำให้มีความเสี่ยงจากการทำงานและนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาการบริการด้านสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคจากการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมตามความเสี่ยงในการทำงาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

50.00 25.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 5.00
3 เพื่อลดภาวะเครียดวิตกกังวลในผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล

50.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูลและบันทึกข้อมูล จำนวน 7 คน จำนวน 10 ชุด/คน จำนวน 710 ชุด ๆละ 20 บาทเป็นเงิน 1,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการสำรวจพฤติกรรม
  2. เกิดฐานข้อมูลของกลุ่มเสี่ยง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของการประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของการประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม ผู้เข้าร่วมและวิทยากร จำนวน50 ชุดชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมและวิทยากร จำนวน 50 ชุด ชุดละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 วัน จำนวน6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (กระดาษโฟรชาร์ท,สมุด,กระเป๋า,ปากกาลูกลื่น,ปากกาเคมี) เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมการทำงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11200.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่มผู้เข้าร่วมและวิทยากรจำนวน 50 ชุด ชุดละ 60 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมน้ำดื่มผู้เข้าร่วมและวิทยากร จำนวน 50 ชุด ชุดละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการทุกกิจกรรม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่
2. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่
3. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ


>