กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ตำบลนาประดู่
รหัสโครงการ 64-L2981-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่2
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่2
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ
20.00
2 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน
0.00
3 ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) เช่น กลุ่มโรงทอผ้า ร้านเสริมสวย บริการซัก – รีด ร้านอาหาร ขายเสื้อผ้า รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างแต่งหน้า ซ่อมรถยนต์ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนและคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว โรคจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพคือโรคใด ๆ (อาจเป็นได้ทั้งโรคเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรั้ง)อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินกิจกรรมอื่นใดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอาชีพ เช่น อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ พิษจากสารตะกั่ว สารเคมี โรคทางเดินหายใจ เครียด เป็นต้น การสำรวจสาเหตุของการได้รับบาดเจ็ดและอุบัติเหตุจากการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบในปี พ.ศ. 2544 มีจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 3.7 ล้านคน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็ดมากที่สุดมาจากการถูกของมีคมบาดถึงร้อยละ 67.3 รองลงมา คือการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 12.3 สาเหตุจากการชนและการกระแทกคิดเป็นร้อยละ 8.7 สาเหตุจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ร้อยละ 4.8 การสัมผัสสารเคมี ร้อยละ 3.0 เกิดอุบัติเหตุจากยานพาหนะ ร้อยละ 2.9 และสาเหตุจากไฟฟ้าช็อต ร้อยละ 0.6 ปัญหาทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของแรงการนอกระบบที่มีปัญหาจากความไม่ปลอดภัยในการทำงานมากที่สุดเกิดจากได้รับหรือสัมผัสสารเคมีที่อันตราย ร้อยละ 65.0 และเกิดจากเครื่องจักรเครื่องมือที่เป็นอันตราย ร้อยละ 21.8 และปัญหาที่เกิดจากการได้รัยอันตรายต่อระบบหูและระบบตา คิดเป็นร้อยละ 6.1 สำหรับปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำงานในท่าทางซ้ำ ไม่มีการเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน ร้อยละ 44.2 รองลงมาคือ ฝุ่น ละออง ควัน กลิ่น ร้อยละ 17.8 และมีแสงสว่างในการทำงานไม่เพียงพอ ร้อยละ 17.0 ปัญหาด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มีเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน มีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการทำงาน และมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสมมีการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษจากการใช้สารฟอกย้อมผ้าและไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพในกลุ่มอาชีพรับจ้างเย็บผ้า ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และมีปัญหาสูงสุดคือด้านการยศาสตร์ โดยเกิดจากลักษณะท่าทางการทำงาน การทำงานเป็นเวลานาน ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานขาดการฝึกอบรม มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงาน จากการทบทวนปัญหาจากการทำงานของแรงงานนอกระบบโดยทั่วไปจะเห็นได้ว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ ด้านสวัสดิการในการทำงาน การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำต่อการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเจ็บป่วย โรคจากการทำงานหรือเกิดอุบัติเหตุ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาความเสี่ยงด้านสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบเฉพาะกลุ่มอาชีพ เพื่อนำลักษณะการทำงานที่อาจทำให้มีความเสี่ยงจากการทำงานและนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาการบริการด้านสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคจากการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมตามความเสี่ยงในการทำงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

50.00 25.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 5.00
3 เพื่อลดภาวะเครียดวิตกกังวลในผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล

50.00 25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,700.00 0 0.00
1 ธ.ค. 63 - 29 ต.ค. 64 สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า 0 1,400.00 -
1 ธ.ค. 63 - 29 ต.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของการประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า 0 11,200.00 -
1 ธ.ค. 63 - 29 ต.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ 0 10,100.00 -
  1. อาสาสมัครอาชีวอนามัยร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
  2. สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
  3. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อมจากการประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
  4. อบรมปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่
  2. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่
  3. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าในพื้นที่ตำบลนาประดู่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 09:26 น.