กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการกินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม/คน/วันในโรงเรียนวัดโคกแย้ม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

กลุ่มรักสุขภาพ

1. นายอำนวย กลับสว่าง (081-8898665)
2. นายพีรพงษ์ หนูแดง
3. นางจิาภร พงษ์ชู
4. นางสุมาลี ศรีโดน
5. นางเยาวดี คงศรี

ม.7,ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กนักเรียนไม่ได้กินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วันจำนวน68คน คิดเป็นร้อยละ60

 

60.00

จากการเก็บข้อมูลTCNAP,RECAP ของตำบลนาท่อมเมื่อปี 2560-2563 จะพบว่า ประชากรใน ม.2บ้านโคกแย้ม ต.นาท่อมมีครัวเรือน145ครัวเรือน จำนวนประชากร 432 คน ประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป/รับจ้างรายวันจำนวน 111 คิดเป็นร้อยละ37.88 รองลงมาคืออาชีพทำนาจำนวน 45 คนคิดเป็นร้อยละ15.36 เนื่องจากอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพที่ไม่มีความมั่งคงทางด้านรายได้ ประกอบกับเกิดโรคระบาดโควิด-19ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม2563ทำให้ผู้ปกครองขาดรายได้จากการประกอบอาชีพเพราะรัฐบาลสั่งปิดประเทศห้ามมีการทำธุรกรรมต่างๆระบบเศรษฐกิจในประเทศชงักกันไปหมด จึงส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดโคกแย้มซึ่งมีนักเรียนทั้งหมดจำนวน68 คน เพราะผู้ปกครองไม่มีรายได้ ทางกลุ่มคนรักสุขภาพเล็งเห็นความสำคัญของการกินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วัน ซึ่งจะทำให้เด็กนักเรียนได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและส่งเสริมให้นักเรียนได้ปลูกผักผลไมปลอดภัยในโรงเรียนเพื่อค่าใช้จ่ายของโรงเรียนจากการซื้อผักผลไม้มาปรุงอาหารกลางวันจึงร่วมมือกับตัวแทนคณะครูโรงเรียนวัดโคกแย้มเขียนโครงการ"ส่งเสริมการกินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม/คน/วันในโรงเรียนวัดโคกแย้ม"ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนกินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม/คน/วันเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการกินผักผลไม้ปลอดภัยปลอดภัย 400 กรัม/คน/วันเพิ่มขึ้น

60.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการปลูกผักผลไม้ปลอดภัยเพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมายปลูกผักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 ชนิด

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีสร้างความเข้าใจ/สร้างความรู้ความตระหนักการกินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วัน

ชื่อกิจกรรม
เวทีสร้างความเข้าใจ/สร้างความรู้ความตระหนักการกินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างความรู้ความตระหนักของการกินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วัน วิธีการล้างผักผลไม้ที่ถูกต้อง วิธีการปรุงอาหารที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับกลุ่มวัยและประโยชน์ของการปลูกผักผลไม้กินเองในโรงเรียนและในครัวเรือน/รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าประสานงาน เป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท
    รวมเป็นเงิน 8,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิคความรู้ความตระหนักการกินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วัน ได้กลุ่มคนเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ68 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 2 ออกแบบเก็บข้อมูลการกินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วัน

ชื่อกิจกรรม
ออกแบบเก็บข้อมูลการกินผักผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนนักเรียน ครู และตัวแทนผู้ัปกครองร่วมกันออกแบบการจัดเก็บข้อมูล - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 10 คน เป็นเงิน 200 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 500 บาท - ค่าประสานงาน จำนวน 300 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิคคณะทำงาน 10 คน
  • เกิดกลไกกติกา
  • ได้ชุดข้อมูลการกินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม/คน/วัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนปลูกผักปลอดสารเคมี ในโรงเรียน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท - ค่าประสานงาน เป็นเงิน 300 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 300 บาท - ค่าเมล็ดพันธุ์พืช 5 ชนิดแจกกลุ่มเป้าหมาย 60 คน จำนวน 300 ซองๆละ 20 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าปุ๋ยไส้เดือน 1.5 กก.แจกกลุ่มเป้าหมาย 60 คน จำนวน 90 กก.ๆละ 10 บาท เป็นเงิน จำนวน 900บาท
รวมเป็นเงิน 13,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย68 คน
นักเรียนมีความรู้เรื่องการปลูกและกินผักผลไม้ปลอดสารเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีลดลง เกิดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล/คืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล/คืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าประสานงาน เป็นเงิน 300 บาท
    รวมเป็นเงิน จำนวน 6,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เกิดกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการกินผักและผลไม้ปลอดภัย400กรัม/คน/วันอย่างน้อย ุ68 คน -กลุ่มเป้าหมาย68คนปฏิบัติตามแผนอย่างน้อย54 คนคิดเป็น80% เกิดแปลงผัก ปลอดภัยเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนกินผักและผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม/คน/วันเพิ่มขึ้น


>