กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชวนครอบครัว เดิน-วิ่ง(ต่อยอด)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม

1. นายถาวร คงศรี (089-0178131)
2. นายสมัย หมวดมณี
3. นายอนุชา เฉล่าชัย
4. นายสมพร พวงพวา
5. นางสุมาลี ศรีโดน

บ้านหูยาน หมู่ที่ 8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

4.00

ข้อมูลสถานะและศักยภาพด้านสุขภาพ ของตำบลนาท่อมจากรายงานด้านสุขภาพในTCNAP และ RECAP ของตำบลนาท่อม และศักยภาพด้านสุขภาพดังนี้ ภาพรวมของตำบลนาท่อม การเจ็บป่วย พบว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามลำดับ ดังนี้โรคความดันโลหิตสูง 1,487 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.47โรคเบาหวาน 556 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.36โรคหลอดเลือดสมอง 74 คน คิดเป็นร้อยละ 1.76มีทุนทางสังคม และทุนศักยภาพเสริมพลังของตำบลนาท่อม ได้แก่กลุ่มช่วยเหลือกันในชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุหมอพื้นบ้าน หมอนวดแผนโบราณ นวดแผนไทย หมอจับเส้น เป็นต้นมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยบริการด่านหน้า สนับสนุนข้อมูลด้านสุขภาพ มีกลุ่มองค์กรที่มีศักยภาพสนับสนุน ได้แก่ มีจำนวนอาสาสมัครผู้ดูแลสุขภาพในชุมชน มี อสม. 84 คน อผส.7 คน กลุ่มกู้ชีพกู้ภัย กองทุนสุขภาพตำบล กลุ่มอสม. กองทุน สปสช. อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ชมรมกีฬาตะกร้อ ชมรมผู้สูงอายุกลุ่มครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ กองทุนพัฒนาระบบบริการสถานีอนามัยตำบลนาท่อม ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในชุมชนตำบลนาท่อม กองทุนสวัสดิการตำบล ชมรมจิตอาสาพัฒนา เครือข่ายจัดการอาหารปลอดภัย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม
พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของคนนาท่อม
จากข้อมูล TCNAP พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่เก็บข้อมูลในจำนวน ๖๙๘ คน ได้สะท้อนให้เห็นประชากรในตำบลนาท่อมมีพฤติกรรมเสี่ยง อันดับ 1 คือ การดื่มสุราเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 49.28อันดับ 2การสูบบุหรี่เป็นประจำ (มีการสูบบุหรี่ในทุกวัน) คิดเป็นร้อยละ 47.13 อันดับ 3 ไม่ได้ออกกำลังกายคิดเป็นร้อยละ 27.36 อันดับ 4 ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปีคิดเป็นร้อยละ 19.05 อันดับ 4 ทำงานหนัก พักผ่อนน้อยคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๗๗ ตามลำดับ
ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง
จากข้อมูล TCNAP จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชาชนในตำบลนาท่อมที่มีปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง ในจำนวน 549 คน อันดับ 1กลุ่มโรคความดันโลหิต คิดเป็นร้อยละ 68.12 อันดับ 2โรคไขมันในเลือด คิดเป็นร้อยละ 29.14อันดับ 3 กลุ่มโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 26.79 อันดับ 4 หอบหืดคิดเป็นร้อยละ 6.09
จากข้อมูลด้านสุขภาพดังกล่าวข้างต้นประกอบกับสถานการณ์การเปลี่ยนด้านสภาพแวดล้อมด้านทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ทางศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อมเห็นความสำคัญปัญหาด้านสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ ที่จะนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นจนเป็นปัญหาครอบครัวได้
ผลจากการไม่ได้ออกกำลังกายที่คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๓๖ ของพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ แม้จะเป็นอันดับที่ 3 แต่ก็เป็นปัจจัยการนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือ NCDsเมื่อครอบครัวเห็นความสำคัญการเรียนรู้การมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะเป็นการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้ระดับหนึ่งดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม ได้จัดให้มีโครงการครอบครัว.......ชวน เดิน-วิ่ง(ต่อยอด) เพื่อให้ตระหนักถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์จะเป็นการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
ผลจากการดำเนินโครงการครอบครัว.......ชวน เดิน-วิ่ง ในระยะแรกได้มีการตรวจวัด ค่าMBI จำนวน 80คนของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้โปรแกรมคำนวนค่าดัชนีมวลกาย - BMI ใช้เป็นตัวชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป ผลของการตรวจวัด อ้วนมากค่า BMI = 30.0 ขึ้นไป
ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน ค่า BMI อยู่ในระดับนี้46 %ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงสูงอายุ จะต้องปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และควรเริ่มออกกำลังกายและค่า BMI = 25.0 - 29.9 อยู่ในเกณฑ์อ้วนในระดับหนึ่ง 35% ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

4.00 2.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-64 ปีมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ร้อยละของผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-64 ปีมีกิจกรรมทางกายเพียงพออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

4.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/11/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนทำกิจกรรมตามแผน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนทำกิจกรรมตามแผน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานและร่วมออกแบบวางแผนการดำเนินโครงการ

  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 ป้ายๆละ 400 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 คน x 50 x 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน x 20 x 2 มื้อ เป็นเงิน 400 บาท

รวมเป็นเงิน1,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤศจิกายน 2563 ถึง 21 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิตได้แผนการทำกิจกรรมเดินวิ่ง ผลลัพธ์ นำแผนการทำกิจกรรมเดิน วิ่ง ไปดำเนินการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

กิจกรรมที่ 2 2 กิจกรรมเรียนรู้ ออกแบบกิจการบริโภคอาหารที่สอดคล้องกับกลุ่มวัย และเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ของบุคคลในครอบครัวของชุมชนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
2 กิจกรรมเรียนรู้ ออกแบบกิจการบริโภคอาหารที่สอดคล้องกับกลุ่มวัย และเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ของบุคคลในครอบครัวของชุมชนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน x 50 x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน x 20 x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,200 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร สสอ และอาสาสมัครออกกำลังกาย ต.นาท่อม (อสก.) จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท (ออกแบบ และสอนการผลิตเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรทดแทน น้ำชา กาแฟ และเมนูอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมครอบครัวชวน เดิน วิ่ง) เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าสมนาคุณ อสม วิทยากรตรวจวัด BMI จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

รวมเป็นเงิน 9,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤศจิกายน 2563 ถึง 22 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ “ ครอบครัว.....ชวนเดิน- วิ่ง ในชุมชน และดื่มน้ำสมุนไพรพพื้นถิ่นทดแทน น้ำชา กาแฟ จำนวน 5 ครั้ง/เดือนทุกวันอาทิตย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ “ ครอบครัว.....ชวนเดิน- วิ่ง ในชุมชน และดื่มน้ำสมุนไพรพพื้นถิ่นทดแทน น้ำชา กาแฟ จำนวน 5 ครั้ง/เดือนทุกวันอาทิตย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรพื้นถิ่น20 บาท x 80 คน จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤศจิกายน 2563 ถึง 27 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกจำนวน 80 คนได้ดื่มน้ำสมุนไพรพื้นถิ่นทดแทนการดื่มน้ำชา กาแฟ จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม ครอบชวนครอบครัว เดิน วิ่ง ตรวจไขมันในเลือดลดลง และค่า BMI  ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปปิด ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมครอบครัว ชวน เดิน วิ่ง

ชื่อกิจกรรม
สรุปปิด ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมครอบครัว ชวน เดิน วิ่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 20 x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,600 บาท
  • ค่าสมนาคุณ อสม วิทยากรตรวจวัด BMI จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 ตรวจวัดค่า BMI และตรวจวัดไขมันในเลือด หลังการดำเนินการ ผลลัพธ์ (Outcome)ผลจากการออกกำลังกาย เดิน  วิ่ง  กินน้ำสมุนไพรพื้นถิ่นทดแทนน้ำชา กาแฟ ทำให้ค่า BMI  และค่าไขมันเปลี่ยนแปลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ค่า bmiลดลง และไขมันในเลือดลด
่มีเมนูอาหารปลอดภัยและเครื่องดื่มสมุนไพรพื้นถิ่นดื่ม-กิน ทดแทน ชา-กาแฟ


>