กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชวนครอบครัว เดิน-วิ่ง(ต่อยอด)
รหัสโครงการ 64-L3356-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2564
งบประมาณ 22,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาถาวร คงศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลสถานะและศักยภาพด้านสุขภาพ ของตำบลนาท่อมจากรายงานด้านสุขภาพในTCNAP และ RECAP ของตำบลนาท่อม และศักยภาพด้านสุขภาพดังนี้ ภาพรวมของตำบลนาท่อม การเจ็บป่วย พบว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามลำดับ ดังนี้โรคความดันโลหิตสูง 1,487 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.47โรคเบาหวาน 556 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.36โรคหลอดเลือดสมอง 74 คน คิดเป็นร้อยละ 1.76มีทุนทางสังคม และทุนศักยภาพเสริมพลังของตำบลนาท่อม ได้แก่กลุ่มช่วยเหลือกันในชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุหมอพื้นบ้าน หมอนวดแผนโบราณ นวดแผนไทย หมอจับเส้น เป็นต้นมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยบริการด่านหน้า สนับสนุนข้อมูลด้านสุขภาพ มีกลุ่มองค์กรที่มีศักยภาพสนับสนุน ได้แก่ มีจำนวนอาสาสมัครผู้ดูแลสุขภาพในชุมชน มี อสม. 84 คน อผส.7 คน กลุ่มกู้ชีพกู้ภัย กองทุนสุขภาพตำบล กลุ่มอสม. กองทุน สปสช. อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ชมรมกีฬาตะกร้อ ชมรมผู้สูงอายุกลุ่มครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ กองทุนพัฒนาระบบบริการสถานีอนามัยตำบลนาท่อม ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในชุมชนตำบลนาท่อม กองทุนสวัสดิการตำบล ชมรมจิตอาสาพัฒนา เครือข่ายจัดการอาหารปลอดภัย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม
พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของคนนาท่อม จากข้อมูล TCNAP พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่เก็บข้อมูลในจำนวน ๖๙๘ คน ได้สะท้อนให้เห็นประชากรในตำบลนาท่อมมีพฤติกรรมเสี่ยง อันดับ 1 คือ การดื่มสุราเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 49.28อันดับ 2การสูบบุหรี่เป็นประจำ (มีการสูบบุหรี่ในทุกวัน) คิดเป็นร้อยละ 47.13 อันดับ 3 ไม่ได้ออกกำลังกายคิดเป็นร้อยละ 27.36 อันดับ 4 ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปีคิดเป็นร้อยละ 19.05 อันดับ 4 ทำงานหนัก พักผ่อนน้อยคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๗๗ ตามลำดับ ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง
จากข้อมูล TCNAP จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชาชนในตำบลนาท่อมที่มีปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง ในจำนวน 549 คน อันดับ 1กลุ่มโรคความดันโลหิต คิดเป็นร้อยละ 68.12 อันดับ 2โรคไขมันในเลือด คิดเป็นร้อยละ 29.14อันดับ 3 กลุ่มโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 26.79 อันดับ 4 หอบหืดคิดเป็นร้อยละ 6.09 จากข้อมูลด้านสุขภาพดังกล่าวข้างต้นประกอบกับสถานการณ์การเปลี่ยนด้านสภาพแวดล้อมด้านทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ทางศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อมเห็นความสำคัญปัญหาด้านสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ ที่จะนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นจนเป็นปัญหาครอบครัวได้
ผลจากการไม่ได้ออกกำลังกายที่คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๓๖ ของพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ แม้จะเป็นอันดับที่ 3 แต่ก็เป็นปัจจัยการนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือ NCDsเมื่อครอบครัวเห็นความสำคัญการเรียนรู้การมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะเป็นการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้ระดับหนึ่งดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม ได้จัดให้มีโครงการครอบครัว.......ชวน เดิน-วิ่ง(ต่อยอด) เพื่อให้ตระหนักถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์จะเป็นการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ผลจากการดำเนินโครงการครอบครัว.......ชวน เดิน-วิ่ง ในระยะแรกได้มีการตรวจวัด ค่าMBI จำนวน 80คนของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้โปรแกรมคำนวนค่าดัชนีมวลกาย - BMI ใช้เป็นตัวชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป ผลของการตรวจวัด อ้วนมากค่า BMI = 30.0 ขึ้นไป ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน ค่า BMI อยู่ในระดับนี้46 %ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงสูงอายุ จะต้องปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และควรเริ่มออกกำลังกายและค่า BMI = 25.0 - 29.9 อยู่ในเกณฑ์อ้วนในระดับหนึ่ง 35% ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

4.00 2.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-64 ปีมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ร้อยละของผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-64 ปีมีกิจกรรมทางกายเพียงพออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

4.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,100.00 0 0.00
21 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนทำกิจกรรมตามแผน 0 1,700.00 -
22 พ.ย. 63 2 กิจกรรมเรียนรู้ ออกแบบกิจการบริโภคอาหารที่สอดคล้องกับกลุ่มวัย และเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ของบุคคลในครอบครัวของชุมชนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 0 9,900.00 -
29 พ.ย. 63 - 27 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ “ ครอบครัว.....ชวนเดิน- วิ่ง ในชุมชน และดื่มน้ำสมุนไพรพพื้นถิ่นทดแทน น้ำชา กาแฟ จำนวน 5 ครั้ง/เดือนทุกวันอาทิตย์ 0 8,000.00 -
31 ธ.ค. 63 สรุปปิด ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมครอบครัว ชวน เดิน วิ่ง 0 2,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ค่า bmiลดลง และไขมันในเลือดลด ่มีเมนูอาหารปลอดภัยและเครื่องดื่มสมุนไพรพื้นถิ่นดื่ม-กิน ทดแทน ชา-กาแฟ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 15:27 น.