กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

1.นายมะกอเซ็ง เจะแต
2.นายฮานาฟี แวนิ
3.นายมะดาโอะ เจะปอ
4.นางสาวสารีฮา กาเดร์
5.นางสาวสุไรนี ดือราแม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การใช้อาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องมาจากการตื่นตัวของต่างประเทศที่หันมาใช้กรรมวิธีการรักษาโรคแบบดั้งเดิมกันมากขึ้น

 

90.00

ในปัจจุบัน การใช้อาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องมาจากการตื่นตัวของต่างประเทศที่หันมาใช้กรรมวิธีการรักษาโรคแบบดั้งเดิมกันมากขึ้น ดังนั้นภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงได้ถูกฟื้นฟูกันทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยวิธีการทางการแพทย์แบบพึ่งพาตนเอง เป็นการดูแลตนเองและบุคคลใกล้ชิด โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอพบแพทย์หรือใช้ยา เพียงแค่เรารู้จักนำสมุนไพรใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามาใช้ อย่างพืชผักและผลไม้ที่อยู่ในครัวเรือน ไม้ดอกที่ปลูกข้างรั้ว เช่น มะนาว เรานำมาใช้แก้ไอ แก้เจ็บคอ ขิง ใช้เหง้ามาต้มกับน้ำแล้วดื่ม เพื่อแก้จุกเสียด แก้อาเจียน กระเทียม นำมาทารักษาโรคผิวหนังกลาก เกลื้อน ดอกมะลิ นำมาตากแห้งใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ หากเราทราบถึงประโยชน์ สรรพคุณของพืชผักสวนครัวใกล้ตัวเหล่านี้ และใช้อย่างถูกวิธี เราก็สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการและรักษาโรคเบื้องต้นอย่างได้ผล ซึ่งมีข้อดีมากมาย เช่น ผลข้างเคียงน้อย หาซื้อได้ง่าย ไม่ต้องจ่ายแพง หรืออาจไม่ต้องหาซื้อเพราะปลูกเองได้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรพบุรุษมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆได้ แต่ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์อันมีค่าเหล่านี้ได้ลางเลือนไปกับกาลเวลา ประชาชนต้องพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ขาดการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง การแพทย์แผนไทยเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้ทำการโครงการ “การดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย” โดยมีการอบรมการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร เช่น พิมเสนน้ำสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร ตำรับยาสมุนไพรรักษาอาการป่วยเบื้องต้น ฯลฯ และวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ การนวด การใช้ท่าฤๅษีดัดตน เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ข้อที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทยทุกหมู่บ้าน
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80
  2. มีแกนนำด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย ร้อยละ 100
90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ อบรมให้ความรู้ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ อบรมให้ความรู้ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทยในการดูแลสุขภาพประชาชน จำนวน 65 คน 1.1 บรรยาย ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน และการนำสมุนไพรใกล้รักษาโรค/อาการเบื้องต้น 1.2 บรรยายให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ 1.3 บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่องการกายบริหารท่าฤาษีดัดตน 1.4 บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่องการทำผลิตภัณฑ์น้ำมันไพล

- ค่าป้ายไวนิลโครงการ
ขนาดความกว้าง 1.๒ เมตร ยาว 3 เมตร
จำนวน1 ผืน ราคาผืนละ 720 บาท
รวมเป็นเงิน ๗๒0 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร (บุคลากรของรัฐสังกัดส่วนราชการอื่น) จำนวน 1 คน อัตราคนละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 คน อัตราคนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 3,250 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 3,250 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ทำน้ำมันไพล จำนวน 65 ขวด เป็นเงิน 4,750 บาท ได้แก่ -- เมนทอล จำนวน 1 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
-- พิมเสน จำนวน 1 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 1,300 บาท รวมเป็นเงิน 1,300 บาท -- การบูร จำนวน 1 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 750 บาท รวมเป็นเงิน 750 บาท -- ไพล จำนวน 5 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 75 บาท รวมเป็นเงิน 375 บาท -- น้ำมันมะพร้าว จำนวน 5 ลิตร
ราคาลิตรละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท -- ขวด ขนาน 15 ซีซี จำนวน 65 ใบ
ราคาใบละ 5 บาท รวมเป็นเงิน 325 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,570 บาท 2. อบรมให้ความรู้ประชาชนในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร นำไปใช้ในครัวเรือน เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย จำนวน 50 คน - ค่าสมนาคุณวิทยากร (บุคลากรของรัฐสังกัดส่วนราชการอื่น) จำนวน 1 คน อัตราคนละ 600 บาทจำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน
รวมเป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน อัตราคนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 50 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ทำลูกประคบ จำนวน 50 ลูกเป็นเงิน 2,315 บาท ได้แก่ -- ไพล จำนวน 10 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 75 บาท
รวมเป็นเงิน 750 บาท
-- ขมิ้น จำนวน 5 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 250 บาท
-- ตะไคร้ จำนวน 5 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 50 บาท
รวมเป็นเงิน 250 บาท -- ใบมะขาม จำนวน 2 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 80 บาท
รวมเป็นเงิน 160 บาท
-- ผิวมะกรูด จำนวน 2 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 90 บาท
รวมเป็นเงิน 180 บาท -- ผ้าด้ายดิบ จำนวน 15 หลา
ราคากิโลกรัมละ 35 บาท รวมเป็นเงิน 525บาท
-- เชือก จำนวน 10 ม้วน
ราคาม้วนละ 20 บาท
รวมเป็นเงิน 200 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ทำพิมเสน จำนวน 50 ขวดเป็นเงิน 1,015บาท ได้แก่ -- ขวดลูกกลิ้ง ขนาด 5 ซีซี จำนวน 50 ใบ ราคาใบละ 5 บาท รวมเป็นเงิน 250 บาท -- เมนทอล จำนวน 0.2 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 300 บาท -- พิมเสน จำนวน 0.2 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 1,300 บาท รวมเป็นเงิน 260 บาท -- การบูร จำนวน 0.2 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 750 บาท รวมเป็นเงิน 150 บาท -- ลูกกระวาน จำนวน 0.1 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 550 บาท
รวมเป็นเงิน 55 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,930 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสมุนไพร นำไปใช้ในครัวเรือน เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. มีแกนนำด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทยทุกหมู่บ้าน และมีความรู้ และทักษะการดูแลสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสมุนไพร นำไปใช้ในครัวเรือน เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2. มีแกนนำด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทยทุกหมู่บ้าน และมีความรู้ และทักษะการดูแลสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้น


>