การดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย
ชื่อโครงการ | การดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย |
วันที่อนุมัติ | 1 มกราคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 27,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปูโละปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | การใช้อาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องมาจากการตื่นตัวของต่างประเทศที่หันมาใช้กรรมวิธีการรักษาโรคแบบดั้งเดิมกันมากขึ้น | 90.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน การใช้อาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องมาจากการตื่นตัวของต่างประเทศที่หันมาใช้กรรมวิธีการรักษาโรคแบบดั้งเดิมกันมากขึ้น ดังนั้นภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงได้ถูกฟื้นฟูกันทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยวิธีการทางการแพทย์แบบพึ่งพาตนเอง เป็นการดูแลตนเองและบุคคลใกล้ชิด โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอพบแพทย์หรือใช้ยา เพียงแค่เรารู้จักนำสมุนไพรใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามาใช้ อย่างพืชผักและผลไม้ที่อยู่ในครัวเรือน ไม้ดอกที่ปลูกข้างรั้ว เช่น มะนาว เรานำมาใช้แก้ไอ แก้เจ็บคอ ขิง ใช้เหง้ามาต้มกับน้ำแล้วดื่ม เพื่อแก้จุกเสียด แก้อาเจียน กระเทียม นำมาทารักษาโรคผิวหนังกลาก เกลื้อน ดอกมะลิ นำมาตากแห้งใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ หากเราทราบถึงประโยชน์ สรรพคุณของพืชผักสวนครัวใกล้ตัวเหล่านี้ และใช้อย่างถูกวิธี เราก็สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการและรักษาโรคเบื้องต้นอย่างได้ผล ซึ่งมีข้อดีมากมาย เช่น ผลข้างเคียงน้อย หาซื้อได้ง่าย ไม่ต้องจ่ายแพง หรืออาจไม่ต้องหาซื้อเพราะปลูกเองได้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรพบุรุษมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆได้ แต่ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์อันมีค่าเหล่านี้ได้ลางเลือนไปกับกาลเวลา ประชาชนต้องพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ขาดการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง การแพทย์แผนไทยเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้ทำการโครงการ “การดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย” โดยมีการอบรมการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร เช่น พิมเสนน้ำสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร ตำรับยาสมุนไพรรักษาอาการป่วยเบื้องต้น ฯลฯ และวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ การนวด การใช้ท่าฤๅษีดัดตน เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ข้อที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทยทุกหมู่บ้าน
|
90.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,500.00 | 0 | 0.00 | 27,500.00 | |
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ อบรมให้ความรู้ประชาชน | 0 | 27,500.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 27,500.00 | 0 | 0.00 | 27,500.00 |
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสมุนไพร นำไปใช้ในครัวเรือน เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
- มีแกนนำด้านการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทยทุกหมู่บ้าน และมีความรู้ และทักษะการดูแลสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 10:55 น.