กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

1.นายมะกอเซ็งเจะแต
2.นางสาวนูรฮายาตี มัณฑนาพร
3.นางสาวอามีเนาะ ยีเจ๊ะอาแว
4.นางสาว แวนูรไอนีย์แวบือราเฮ็ง
5.นางสาวสุไรนี ดือราแม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ปกครองปฏิเสธการรับฉีดวัคซีน เด็กย้ายที่อยู่ ผู้ปกครองพาไปประกอบอาชีพต่างถิ่น เด็กอาศัยอยู่ญาติเช่นปู่ ย่า ตา ยาย ไม่สะดวกในการเดินทางมารับวัคซีนที่รพ.สต. ไปอยู่กับพ่อแม่ต่างประเทศ เคยฉีดแล้วมีประวัติเป็นไข้

 

90.00

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขตระหนักดีว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศมาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานกว่า 30 ปี แล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ คือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าด้วยเหตุนี้เด็ก ๆ แทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงชนิดต่าง ๆ เช่น โปลิโอ, คอตีบ, ไอกรน, วัณโรค, ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสูงตั้งแต่ก่อนมีเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น จากการสอบสวนการระบาดของโรคหัด ในพ.ศ.2561 พบว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเท่ากับ ร้อยละ ๘๗ และที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการจัดบริการสุขภาพในระบบสาธารณสุขอย่างรุนแรง ทั้งนี้การสำรวจความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ และต้นปี ๒๕๖๒ พบว่าความครอบคลุมต่ำกว่าเป้าหมายมาก และนำไปสู่การระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคคอตีบ และโรคหัด อย่างกว้างขวาง และมีอุบัติการณ์ของโรคเหล่านี้สูงที่สุดในประเทศ พื้นที่ที่มีการระบาดส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่สีแดง และความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ อยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำ
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของรพ.สต.ปุโละปุโยใน ปี 2563 พบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งหมด 346 คน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 243 คน ร้อยละ 70.23 นอกจากนี้ยังมีเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย หรือบางรายรับวัคซีนเพียง 1-2 เข็มเท่านั้น จำนวน 103 คน ร้อยละ 29.77 สาเหตุเนื่องจากผู้ปกครองปฏิเสธการรับฉีดวัคซีน เด็กย้ายที่อยู่ ผู้ปกครองพาไปประกอบอาชีพต่างถิ่น เด็กอาศัยอยู่ญาติเช่นปู่ ย่า ตา ยาย ไม่สะดวกในการเดินทางมารับวัคซีนที่รพ.สต. ไปอยู่กับพ่อแม่ต่างประเทศ เคยฉีดแล้วมีประวัติเป็นไข้
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทางรพ.สตปุโละปุโยจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้เด็กอายุ0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-5ปีได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

1.ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 0-5 ปี ร้อยละ 95 2. ไม่มีอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3. ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ 60

90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 88
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมเตรียมความพร้อมทีมครือข่ายตำบลปุโละปุโยและประชุมถอดบทเรียนการเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมเตรียมความพร้อมทีมครือข่ายตำบลปุโละปุโยและประชุมถอดบทเรียนการเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเตรียมความพร้อมทีมครือข่ายตำบลปุโละปุโยและประชุมถอดบทเรียนการเยี่ยมบ้าน -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน อัตราคนละ 25 บาท1มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน1,625บาท 2.อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนแก่แกนนำด้านSmart Kids (ผู้ปกครองที่ฉีดวัคซีนครบ)จำนวน 25 คน

- ค่าป้ายไวนิลโครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ ขนาดกว้าง1.2ยาว3เมตรจำนวน1 ป้ายรวมเป็นเงิน 720 บาท - ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน อัตราคนละ 300 บาท 6 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน
รวมเป็นเงิน1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 25 คน อัตราคนละ 50 บาท1มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็น 1,250 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน อัตราคนละ 25 บาท2มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็น 1,250 บาท รวมเป็นเงิน5,020บาท 3. อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนแก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี จำนวน 88 คน - ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน อัตราคนละ 300 บาท 6 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน
รวมเป็นเงิน1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 88 คน อัตราคนละ 50 บาท1มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็น 4,400 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน อัตราคนละ 25 บาท2มื้อ จำนวน 1 วัน รวมเป็น 4,400 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการอบรมจำนวนเงิน 1,255บาท รวมเป็นเงิน11,855บาท 4. กิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจ(มอบประกาศนียบัตร) สำหรับผู้ปกครองที่พาบุตรมารับวัคซีนตามนัด -ค่าประกาศนียบัตรพิมพ์สีพร้อมใส่กรอบจำนวน 10 ชิ้น ราคาชิ้นละ 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ข้อที่ 1เพื่อให้เด็กอายุ0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-5ปีได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

รพ.สต.ปุโละปุโยมีระบบการติดตามการรับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี อย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีน และตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ส่งผลให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และไม่ป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>