กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ประจำปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร

สำนักงานเลขาฯกองทุน

สำนักงานเลขาฯกองทุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ได้กำหนดลักษณะกิจกรรมที่จะของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่กิจกรรมการจัดการบริการสาธารณสุขของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่,กิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่กิจกรรมด้านการสาธารณสุขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ,กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่และกิจกรรมการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มดำเนืนการ เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ปีงบประมาณ 2564 เพื่อนำงบประมาณที่ได้รับมาบริหารจัดการกองทุน จัดเตรียมวัสดุที่จำเป็นมาใช้ในการดำเนินงานของกองทุนฯต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร มีความต่อเนื่องสามารถใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
3. เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
4. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน แกนนำสุขภาพและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
5. คณะกรรมการกองทุนมีศักยภาพและมีความพร้อมในการบริหารกองทุนฯ
6. คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ประจำปีงบประมาณ 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนการวางแผนงาน
         - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ      - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน      - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการเพื่อกำหนดนัดหมาย      - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ประกอบการดำเนินงาน ตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม      - จัดเกตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่นค่าตอบแทนการประชุม ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวารที่กำหนด      - จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน/ที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี      - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี      - จัดประชุมอนุกรรมการ LCT อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี      - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการฯ คณะอนุกรรมการ LCT และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน      - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ
  4. สนับสนุนค่าตอบแทน ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดประชุมต่างๆ ในพื้นที่และนอกพื้นที่ตำบลละหาร
  5. ค่าจัดซื้อวัสดุและคุรุภัณฑ์
  6. ค่าเดินทางไปราชการ อบรม พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลละหาร มีความต่อเนื่อง สามารถใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน
  2. คณะกรรมการกองทุนมีศักยภาพและความพร้อมในการบริหารกองทุนฯ
  3. คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
  4. การเสนอแผนงาน หรือโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
111700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 111,700.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร จำนวน 111,700.-บาท รายละเอียดดังนี้
1. จัดประชุมคณะกรรมการ/ที่ปรึกษากองทุนฯ เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ๆ ละ 400.- บาท จำนวน 4 ครั้งเป็นเงิน 30,400.-บาท
- ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน ๆ ละ 300.-บาท จำนวน 4 ครั้งเป็นเงิน 2,400.-บาท
- ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก จำนวน 10 คน ๆ ละ 400.- บาท จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 8,000.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเป็นเงิน 3,000.-บาท
รวมเป็นเงิน43,800.-บาท
2. จัดประชุมอนุกรรมการกองทุนฯ
- ค่าตอบแทน จำนวน 7 คน ๆ ละ 300.-บาทจำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน4,200.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 7 คน ๆ ละ 25/มื้อ จำนวน 4 มื้อ จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 350.-บาท
รวมเป็นเงิน4,550.-บาท
3. จัดประชุมอนุกรรมการ LTC
- ค่าตอบแทนอนุกรรมการ จำนวน 10 คน ๆ ละ 300.-บาท จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน6,000.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อจำนวน2ครั้งเป็นเงิน500.-บาท
รวมเป็นเงิน6,500.-บาท
4. จัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ LCT และผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ค่าอาหารกอลางวันจำนวน50 คน ๆ ละ 80.-บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,000.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 35.-บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน3,500.-บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600.-บาทเป็นเงิน 3,600.-บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 3,500.-บาท
- ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร เป็นเงิน3,500.-บาท
- ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมเป็นเงิน3,000.-บาท
- ค่าเช่าห้องประชุมเป็นเงิน 3,000.-บาท
- ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตรเป็นเงิน750.-บาท
รวมเป็นเงิน24,850.-บาท
5. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน5,000.-บาท
6. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุนเป็นเงิน19,000.-บาท
7. ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน8,000.-บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น111,700.-บาท
* หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>