กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านบางหิน หมู่บ้านปลอดเหล้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางหิน

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 2 บ้านบางหิน

1.นางจินตนา หนูรักษ์ (077-123456)
2.นางวรรณา กุจิ
3.นางอานีซะ หะยีเจ๊ะนะ
4.นายดลร่าหมาน ชิดเอื้อ
5.นายส่อแล่ห์ ภัคดี

พื้นที่หมู่ 2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

8.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

15.00

พื้นที่หมู่ 2 บ้านบางหิน ตำบลบางหิน.อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง มีจำนวนประชากร 1000 คน จากแบบสำรวจข้อมูลผู้ดื่มสุราของหมู่บ้านบางหิน พบว่ามีผู้ดื่มสุราในพื้นที่ จำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ของประชากรหมู่บ้านบางหิน โดยแบ่งเป็นเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) จำนวน 80คน คิดเป็นร้อยละ 8 และผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรหมู่บ้านบางหิน ซึ่งทางผู้จัดทำโครงการได้เล็งเห็นถึงภาวะเสี่ยง และภัยอันตรายที่เกิดจากการดื่มสุราและของมึนเมา จึงจัดโครงการ หมู่บ้านบางหิน หมู่บ้านปลอดเหล้าขึ้น เพื่อลดปริมาณผู้ติดเหล้าในพื้นที่หมู่บ้านบางหิน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

8.00 5.00
2 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

15.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 02/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งทีมอาสาสมัคร ดูแลและติดตามผู้ติดเหล้า

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งทีมอาสาสมัคร ดูแลและติดตามผู้ติดเหล้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รับสมัครทีมอาสาสมัครจำนวน 23 คน เพื่อทำหน้าที่สำรวจ จัดทำฐานข้อมูล ดูแลและติดตามผู้ติดเหล้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 8 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้อาสาสมัครจำนวน 23 คน เพื่อสำรวจ ดูแลและติดตามผู้ติดเหล้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำฐานข้อมูล ผู้ดื่มเหล้า

ชื่อกิจกรรม
จัดทำฐานข้อมูล ผู้ดื่มเหล้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อาสาสมัคร 1 คน ต่อผู้ติดเหล้า 10 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือจัดเก็บข้อมูล (ชื่อ อายุ ครอบครัว ปริมาณการดื่ม ความถี่ ค่าใช้จ่าย เหตุผล ปัญหา ฯลฯ)
หลังจากเก็บข้อมูลเสร็จ สรุปลงสมุดติดตามผู้ติดเหล้า
ค่าใช้จ่ายในการจัดทำฐานข้อมูล
1. ค่าแบบสำรวจ 230 ชุด ชุดละ 3 บาท เป็นเงิน 690 บาท
2. ค่าสมุดติดตามผู้ติดเหล้า 230 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 2300 บาท
3. ค่าปากกา 23 ด้าม ด้ามละ 5 บาท เป็นเงิน 115 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มกราคม 2564 ถึง 29 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ฐานข้อมูลผู้ติดเหล้าจำนวน 230 คน และสมุดติดตามการดื่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3105.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างทัศนคติปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกเหล้า เลิกจน เพื่อคนที่เรารัก

ชื่อกิจกรรม
สร้างทัศนคติปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกเหล้า เลิกจน เพื่อคนที่เรารัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเพื่อสร้างทัศนคติปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกเหล้า เลิกจน เพื่อคนที่เรารัก
โดย แบ่งการจัดอบรมเป็น 3 รุ่น วันที่ 1 2 และ 3 กุมภาพันธ์ 2564 โดยคละผู้เข้าร่วมอบรมโดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทัศนคติกันได้
มีค่าใช้จ่ายในการอบรมดังนี้
1. ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงต่อวัน ชั่วโมงละ 400 บาท รวม 3 รุ่น 18 ชั่วโมง เป็นเงิน 7200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 230 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 11500 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 230 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 11500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ติดสุราจำนวน 230 คน ได้รับการบำบัดและสร้างทัศนติและภูมิคุ้มกันแอลกอฮอล์ เลิกเหล้า เลิกจน เพื่อคนที่เรารัก สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30200.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม และประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผู้ดื่มสุรา เยี่ยมบ้าน ประเมินผลภาวะการติดสุรา เดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน เมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนด นำมาสรุปลงสมุดติดตามผู้ติดเหล้า
ค่าใช้จ่ายมีดังนี้
1. ค่าแบบประเมินภาวะการติดสุรา 230 คน คนละ 10 ชุด ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 2300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 2 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แบบสรุปติดตามผู้ติดเหล้า 230 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,605.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>