กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

นางปานิมาส รุยัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยโรคเลปโตสไปรีสในชุมชน (ต่อแสนประชากร)

 

33.76
2 จำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคเลปโตสไปดรซีส

 

786.00

จากสถานการณ์อทุกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่ ในชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางด้านเกษตรกรรม คือ การปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน อีกทั้งยังมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัย ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่อย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรค คือ มีไข้สูงทันที ทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อโคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 อำเภอเมืองพัทลุงได้รับรายงานผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.12 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สำหรับในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 - 11 พฤศจิกายน 2563 มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 8 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วยในพื้นที่เพียง 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 33.76 ต่อประชากรแสนคน จากการสอบสวนโรคส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองในระหว่างที่ออกไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งรังโรคไม่เหมาะสม คือ สวมรองเท้าบู๊ทที่ขาด ไม่สวมรองเท้าในขณะที่ทำงานในโคลนหรือที่มีน้ำขัง ไม่สวมถุงมือ และไม่รีบมารับการรักษาเมือเกิดการเจ็บป่วย เป็นต้น และซึ่งพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงของตำบลโคกชะงาย คือ แหล่งน้ำหมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 8 โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี เป็นช่วงระยะเวลาที่พบผู้ป่วยบ่อยที่สุด
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคเลปโตสไปโรซีสเมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564 ขึ้น แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วมและเพื่อเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนตำบลโคกชะงาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน

สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชนทั้ง ุ 6 หมู่บ้าน

2.00 6.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส เทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซีสเทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (101/แสนประชากร)

101.28 67.52

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจฯ เป็นเงิน 840 บาท
  • ค่าตอบแทนการลงพื้นที่สำรวจฯ จำนวน 600 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลการสำรวจพฤติกรรมพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน จำนวน 600 ครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6840.00

กิจกรรมที่ 2 คืนข้อมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน)

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ลงพื้นที่คืนข้อมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน) ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนทุกหมู่บ้านได้ทราบพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของคนในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลเฝ้าระวังป้องกันโรคฯในพื้นที่พร้อมติดตั้งขนาด 1.8 x 1.5 เมตร ตรม.ละ 180 บาท จำนวน 6 ป้าย เป็นเงิน 2,916 บาท
  • ค่าติดตั้ง ป้ายละ 100 บาทจำนวน 6 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ทุกหมู่บ้านมีป้ายเตือนพื้นที่เสี่ยงและป้ายความรู่การป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซีส
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3516.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,356.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนได้ทราบพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงโรคเลปโสไปโรซีสในชุมชน
- ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน


>