กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L3351-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 10,356.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปานิมาส รุยัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยโรคเลปโตสไปรีสในชุมชน (ต่อแสนประชากร)
33.76
2 จำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคเลปโตสไปดรซีส
786.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์อทุกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่ ในชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางด้านเกษตรกรรม คือ การปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน อีกทั้งยังมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัย ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่อย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรค คือ มีไข้สูงทันที ทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อโคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 อำเภอเมืองพัทลุงได้รับรายงานผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.12 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สำหรับในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 - 11 พฤศจิกายน 2563 มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 8 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วยในพื้นที่เพียง 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 33.76 ต่อประชากรแสนคน จากการสอบสวนโรคส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองในระหว่างที่ออกไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งรังโรคไม่เหมาะสม คือ สวมรองเท้าบู๊ทที่ขาด ไม่สวมรองเท้าในขณะที่ทำงานในโคลนหรือที่มีน้ำขัง ไม่สวมถุงมือ และไม่รีบมารับการรักษาเมือเกิดการเจ็บป่วย เป็นต้น และซึ่งพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงของตำบลโคกชะงาย คือ แหล่งน้ำหมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 8 โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี เป็นช่วงระยะเวลาที่พบผู้ป่วยบ่อยที่สุด
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคเลปโตสไปโรซีสเมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564 ขึ้น แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วมและเพื่อเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนตำบลโคกชะงาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน

สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชนทั้ง ุ 6 หมู่บ้าน

2.00 6.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส เทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซีสเทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (101/แสนประชากร)

101.28 67.52
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,356.00 3 0.00
1 ธ.ค. 63 - 31 ก.ค. 64 สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน 0 6,840.00 -
1 ธ.ค. 63 - 31 ก.ค. 64 คืนข้อมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน) 0 0.00 -
1 ธ.ค. 63 - 31 ก.ค. 64 การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน 0 3,516.00 -
1 มี.ค. 64 การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 64 สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 64 คืนขอมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน) 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชาชนได้ทราบพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงโรคเลปโสไปโรซีสในชุมชน
  • ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 00:00 น.