กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านไร่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านไร่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (3-5 ปี) ที่มีภาวะเสี่่ยงทุพโภชนาการ (คน)

 

81.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า เป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด - ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ในวัยนี้ หากได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กนั้นติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต และเด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส เข้ากับผู้อื่นได้ดี ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า อารมณ์หงุดหงิดง่าย เศร้าซึมเข้ากับผู้อื่นยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งนี้อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไดโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และการไม่รับประทานอาหารเช้า จากเหตุผลดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่ เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยให้กับครู ผู้ปกครอง และผู้เข้ารับการฝึกอบรม (คน)

ครู ผู้ปกครอง และผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลเด็กด้านโภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (ร้อยละ)

60.00 81.00
2 เพื่่อติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยที่่ได้รับการเฝ้าระวัง ดูแล ติดตามและส่งเสริมโภชนาการ ไม่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และปัญหาภาวะโภชนาการที่เกิดขึ้นในเด็กปฐมวัยลดลง

20.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 81
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู และบุคลากรทางการศึกษา 11
ผู้ปกครอง 81

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/02/2021

กำหนดเสร็จ 13/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วางแผนคณะทำงานครู คณะกรรมการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ ทต. บ้านไร่

ชื่อกิจกรรม
วางแผนคณะทำงานครู คณะกรรมการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ ทต. บ้านไร่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วางแผนคณะทำงานครู คณะกรรมการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ ทต. บ้านไร่

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนในการทำกิจกรรมโครงการ "เฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบ้านไร่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ให้เด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอกทราบการทำกิจกรรมในศูนย์ฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ให้เด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอกทราบการทำกิจกรรมในศูนย์ฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก  ให้เด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอกทราบการทำกิจกรรมในศูนย์ฯ
ค่าไวนิล ขนาด 1.5 * 3.0  เมตร  เป็นเงิน  540  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอกทราบการทำกิจกรรมโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบ้านไร่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
540.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องโภชนาการและภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องโภชนาการและภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเชิญวิทยากรจาก รพ.สต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้เรื่องโภชนาการและภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย การรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  2. ดำเนินการติดตามการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายของเด็ก โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปลผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต สำหรับเด็กอายุ 0-6 ปี ของกรมอนามัย เพื่อรวบรวมข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก
  3. ดำเนินการติดตามเด็กรายที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ พร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐาน ในภาวะที่พบเด็กขาดสารอาหารรุนแรง โดยประสานกับทางโรงพยาบาลในพื้นที่เข้ารับการรักษาต่อไป

งบประมาณ 1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600บาทเป็นเงิน3.600 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น สมุด ปากกาเอกสารแผ่นพับ เป็นเงิน2,185 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน2มื้อ มื้อละ 25บาทเป็นเงิน4,750 บาท 4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท เป็นเงิน 7,125บาท 5. ค่าอาหารเสริม ให้กับเด็กเล็ก จำนวน 200 ถุง ถุงละ 149บาท เป็นเงิน 29,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง  ครูผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  ได้รับความรู้เรื่องโภชนาการและภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47460.00

กิจกรรมที่ 4 ออกกฎกติกาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ออกกฎกติกาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมครู คณะกรรมการเรื่่องการออกกฎ กติกา เกี่ยวกับเรื่องอาหารที่่มีประโยชน์ถูกต้องตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการ และมีการออกกฎ กติการ่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2564 ถึง 24 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 คืนข้อมูลการทำโครงการให้แก่ ครู ผู้ปกครองทราบในวันประชุมผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลการทำโครงการให้แก่ ครู ผู้ปกครองทราบในวันประชุมผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลการทำโครงการให้แก่ ครู  ผู้ปกครองทราบในวันประชุมผู้ปกครอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2564 ถึง 17 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองทราบข้อมูลการดำเนินกิจกรรมและผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการส่งโครงการฉบับสมบูรณ์ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านโภชนาการ
2. เด็กปฐมวัยที่่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามทางโภชนาการ
3. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางร่างกาย และสมองเจริญเติบโตสมวัยและปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยลดลง


>