กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่
รหัสโครงการ 64-L8022-03-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กุมภาพันธ์ 2564 - 13 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 48,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิติยา ลูกสะเดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (3-5 ปี) ที่มีภาวะเสี่่ยงทุพโภชนาการ (คน)
81.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า เป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด - ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ในวัยนี้ หากได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กนั้นติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต และเด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส เข้ากับผู้อื่นได้ดี ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า อารมณ์หงุดหงิดง่าย เศร้าซึมเข้ากับผู้อื่นยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งนี้อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไดโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และการไม่รับประทานอาหารเช้า จากเหตุผลดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่ เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยให้กับครู ผู้ปกครอง และผู้เข้ารับการฝึกอบรม (คน)

ครู ผู้ปกครอง และผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลเด็กด้านโภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (ร้อยละ)

60.00 81.00
2 เพื่่อติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยที่่ได้รับการเฝ้าระวัง ดูแล ติดตามและส่งเสริมโภชนาการ ไม่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และปัญหาภาวะโภชนาการที่เกิดขึ้นในเด็กปฐมวัยลดลง

20.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,000.00 0 0.00
2 ก.พ. 64 วางแผนคณะทำงานครู คณะกรรมการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ ทต. บ้านไร่ 0 0.00 -
2 - 22 ก.พ. 64 ประชาสัมพันธ์โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ให้เด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอกทราบการทำกิจกรรมในศูนย์ฯ 0 540.00 -
2 ก.พ. 64 - 31 พ.ค. 64 ออกกฎกติกาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ 0 0.00 -
22 ก.พ. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องโภชนาการและภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย 0 47,460.00 -
24 พ.ค. 64 ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
17 มิ.ย. 64 คืนข้อมูลการทำโครงการให้แก่ ครู ผู้ปกครองทราบในวันประชุมผู้ปกครอง 0 0.00 -
23 ส.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 สรุปโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านโภชนาการ
  2. เด็กปฐมวัยที่่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามทางโภชนาการ
  3. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางร่างกาย และสมองเจริญเติบโตสมวัยและปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 09:21 น.