กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมการทำลูกประคบสมุนไพรเรือนจำกลางจังหวัดมหาสารคาม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบ้านส่องนางใย เครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม

นางสาวธิดาภรณ์ ใสโศก

เรือนจำกลางจังหวัดมหาสารคาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินการตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ เช่น การจัดระบบบริการสาธารณสุขภายในเรือนจำ ด้านการบริหารจัดการป้องกันโรคติดต่อ ด้านการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ต้องขัง โดยผู้ต้องขังที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ ซึ่งจะทำให้ผู้ต้องขังมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง เมื่อพ้นโทษไปแล้วจะมีสุขภาพที่ดี และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลในครอบครัว ชุมชน สังคมได้ โดยการอบรมการทำลูกประคบสมุนไพรสามารถทำได้ง่าย หาพื้นสมุนไพรง่ายในชุมชน จึงสามารถที่จะนำลูกประคบสมุนไพรไปพัฒนารูปแบบ ปรับเปลี่ยน และส่งเสริมเป็นอาชีพได้ในอนาคตได้
ดังนั้นจึงเกิดความร่วมมือระหว่างเรือนจำจังหวัดมหาสารคามและงานแพทย์แผนไทย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบ้านส่องนางใยเพื่อจะการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในการทำลูกประคบสมุนไพร เพื่อเป็นการดูแลตนเองแบบผสมผสานกับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาและแบบวิถีไทย ทำให้ผู้ต้อขังมีความตระหนักที่จะมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ ความเข้าใจ วิธีในการทำลูกประคบสมุนไพร
2. เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถใช้ลูกประคบสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้ผู้ต้องขังเกิดความสามัคคีสร้างการรวมกลุ่ม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมและฝึกทำลูกประคบสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
อบรมและฝึกทำลูกประคบสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 50 คน*50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน * 2 มื้อ * 25 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าวิทยากร 1 วัน 6 ชม ๆ ละ 300เป็นเงิน 1,800 บาท
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำลูกประคบรวมเป็นเงิน 5,525 บาท 6.1.1 สมุนไพรแห้ง ประกอบด้วย ไพลแห้งจำนวน13 กิโลกรัม ๆ ละ150 บาท เป็นเงิน 1,950บาท ใบมะขามแห้งจำนวน 8กิโลกรัม ๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน560บาท ผิวมะกรูดแห้ง จำนวน 5กิโลกรัม ๆ ละ 80 บาทเป็นเงิน400บาท ขมิ้นชันแห้ง จำนวน 3กิโลกรัม ๆ ละ120 บาท เป็นเงิน360บาท ตะไคร้แห้ง จำนวน 3กิโลกรัม ๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน210บาท การบูร จำนวน 2กิโลกรัม ๆ ละ600 บาทเป็นเงิน1,200 บาท พิมเสน จำนวน 1กิโลกรัม ๆ ละ650 บาทเป็นเงิน650บาท เกลือ จำนวน 1กิโลกรัม ๆ ละ 40 บาทเป็นเงิน40 บาท 6.1.2 ผ้าด้ายดิบ จำนวน 20 เมตร ๆ ละ 35บาทเป็นเงิน 35 บาท 6.1.3 เชือกขาว เบอร์ 60 จำนวน 1 ม้วน ๆ ละ120บาทเป็นเงิน120บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลิตลูกประคบสมุนไพรและสามารถนำไปใช้ได้จริง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12325.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,325.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ลูกประคบที่ผลิตออกมาสามารถใช้งานได้จริง


>