กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

เขตองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดนจำนวน 8หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 ยังไม่ผ่านเกณฑ์

 

80.00
2 ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านม พบสตรีที่มีความผิดปกติที่ต้องตรวจโดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 23 ราย พบ ถุงไขมันอักเสบ จำนวน 2 ราย ก้อนเนื้อไม่ใช่มะเร็ง จำนวน 1 ราย และพบความผิดปกติที่ต้องติดตามต่อเนื่อง จำนวน 3 ราย

 

80.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก 1 ปี ในกรณีกลุ่มเสี่ยง สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็ง

เต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
จากผลการดำเนินงานปี ๒๕63 ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านม พบสตรีที่มีความผิดปกติที่ต้องตรวจโดยเจ้าหน้าที่ จำนวน ๒๓ ราย พบ ถุงไขมันอักเสบ จำนวน ๒ ราย ก้อนเนื้อไม่ใช่มะเร็ง จำนวน ๑ ราย และพบความผิดปกติที่ต้องติดตามต่อเนื่อง จำนวน 3 รายและรอส่งเอกซเรย์เต้านมในโครงการมูลนิธิกาญจนบารมีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่เฉลิมพระเกียรติ และความผิดปกติอื่นๆ เช่น มีผื่นคันเต้านมอักเสบ ผิวหนังและหัวนมเป็นรอยบู๋ม ซึ่งได้ส่งต่อพบแพทย์และผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๖๑ ซึ่งยังถือว่าต่ำเกณฑ์ (ร้อยละ ๘0) ซึ่งจากการวิเคราะห์การทำงาน พบว่า ยังมีอุปสรรคหลายอย่างและเป็นงานที่ค่อนข้างใช้กลยุทธ์และการทำงานอย่างต่อเนื่อง เช่น ยกตัวอย่าง ๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายพยาบาล จนท.ที่ตรวจที่ รพ.สต.เห็นหน้ากันบ่อยๆไม่กล้ามาที่ รพ.สต. ๒.สตรีกลุ่มเป้าหมายทํางานเลิกค่ำไม่มีเวลามาตรวจ บางคนต้องดูแลเลี้ยงลูกหลาน ไม่สามารถมาตรวจตามนัดได้ ๓.การเดินทางไม่สะดวก ไม่มีพาหนะหรือรถโดยสารนั่งมา รพ.สต. เลยทําให้ไม่อยากมาตรวจ ๔. ยังขาดความตระหนัก และการเห็นความสำคัญเพราะคิดว่า ยังไม่มีอาการอะไรหรือไม่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็ง ก็เลยมีความคิดว่าไม่จำเป็นต้องตรวจ และ ๕. บางคนกลัวผลการตรวจหากรู้ว่าเป็นมะเร็ง
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ต้องใช้กลยุทธ์หรือการเก็บความครอบคลุม การติดตามเข้ารับบริการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและ แกนนนำอาจ ยังขาดทักษะ ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มาวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่คือ การสร้างวงจรหรือ วงล้อแห่งการพัฒนาตามแนวทาง P-D-C-A (Plan-Do-Check-Action) เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ตามบริบทของพื้นที่เพื่อเน้นการบริการรูปแบบเชิงรุกบุกถึงบ้าน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนจึงได้จัดทำโครงการ ต่อยอดความต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นและเป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ก่อนและหลังการอบรมและสามารถตรวจเต้านมได้ถูกต้อง  ร้อยละ 90

80.00 100.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยมะเร็งปากมดลูกและเต้านม

ในรายผิดปกติได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 125
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขสู่ แกนนำ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขสู่ แกนนำ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ
2.จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง จากพันธุกรรม และรายที่ติดตามจากปี 2563
3.จัดพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขสู่ แกนนำ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จำนวน 16 คน
-ภาคทฤษฎี ความรู้เรื่องโรค การตรวจเต้านมด้วยตนเองแบบเข้มข้น ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และการเตรียมความพร้อมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเทคนิคการใช้การสื่อสารที่ทันสมัยในการให้ความรู้ และการติดตามเยี่ยมบ้าน ฝึกการจับกลุ่ม สอน/สาธิต แบบกลุ่มและแบบคนต่อคน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มกราคม 2564 ถึง 13 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีความรู้และทักษะ ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนกลุ่มแกนนำจัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยตนเองให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนกลุ่มแกนนำจัดพัฒนาศักยภาพ ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยตนเองให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แกนนำและทีม อาสาสมัครสาธารณสุข จัดเก็บความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากสถานบริการอื่นๆ เพื่อทำฐานข้อมูลผู้ที่ไม่เคยผ่านการตรวจ
2. นัดกลุ่มเป้าหมายในการทำกลุ่มสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองในชุมชน
3. จัดทำทะเบียนนัดตรวจมะเร็งปากมดลูก และเข้ารับการตรวจ
-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 125คนมื้อละ50บาท จำนวน2มื้อเป็นเงิน12,500บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 125คน มื้อละ 25บาทจำนวน4มื้อเป็นเงิน12,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ก่อนและหลังการอบรมและสามารถตรวจเต้านมได้ถูกต้อง  ร้อยละ 90
-ในรายผิดปกติได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแล้วพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
3. เครือข่ายแกนนำเชี่ยวชาญ มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสมารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในชุมชนได้อย่างถูกต้อง


>