กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก (01-15)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

รพ.สต.บ้านทรายแก้ว

ม. 3,4,10ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออก มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคล ต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อย และที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคล ต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชน ทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน
ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใด มีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัย ให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่ได้ผลดีนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายในชุมชนโดยเฉพาะภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคีเครือข่ายต่างในชุมชน จึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงสภาพแวดล้อม กำจัดขยะ และแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จึงได้จัดทำโครงการ “บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดของบ้านเรือน และร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านในที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง สามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างยั่งยืน
¬เป้าหมาย1. ตัวแทน อสม.จำนวน 30 คน
2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 5 คน
3. ตัวแทนภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 5 คน

พื้นที่ดำเนินการพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนในชุมชน เห็นความสำคัญของการรักษาความสะอาดของบ้านเรือน ส่งเสริมให้ประชาชน/ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกิจกรรม เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชน ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ประชาชนมีการกำจัดขยะในบ้านเรือนที่ถูกวิธี ลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย -ประชาชนมีความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินงาน

100.00 80.00
2 เพื่อให้บ้านเรือนสะอาด สามารถควบคุมค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน และสามารถเป็นบ้านเรือนต้นแบบ ด้านความสะอาด ไม่พบลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

-ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง โดยวัดจาก ค่า HI (จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 20
ค่า CI (จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 10

100.00 30.00
3 เพื่อค้นหา อสม.ต้นแบบ ด้านการดูแลบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบตนเอง ผ่านการประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก

-ร้อยละ 100 ของบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบของ อสม.ต้นแบบ
มีความสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก

100.00 100.00
4 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

-อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง  (ปี 2559-2563) ร้อยละ 20

100.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,651
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่ เพื่อประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ เพื่อประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจ้างทำป้ายไวนิลรณรงค์โครงการ
    ขนาด 1.5x3 เมตร จำนวน 1 ผืน  x 1,000 บาท = 1,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับลงพื้นที่ เพื่อประเมินบ้านสะอาด
    ปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 40 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 12 วัน = 24,000 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับลงพื้นที่ เพื่อประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 40 คน x 50 บาท x 1 มื้อ x 12 วัน = 24,000 บาท
  4. ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (หน้า-หลัง) จำนวน 500 แผ่น x 1 บาท = 500 บาท
  5. ค่าจัดซื้อสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ทรายอะเบท) ยุงลายพลาสท์เบท 1 เอสจี
    ขนาด 50 กรัม (ถังละ 500 ซอง) จำนวน 3 ถัง ๆ ละ 3,300 บาท = 9,900 บาท
  6. ค่าจัดทำประกาศนียบัตร สำหรับบ้านที่ผ่านการประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 60 แผ่น x 40 บาท = 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บ้านที่ผ่านการประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 60 หลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. มี อสม.ต้นแบบ ด้านการดูแลบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบ ผ่านเกณฑ์การประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดในบ้านเรือนและในชุมชน
3. บ้านเรือนสะอาด ชุมชนมีการกำจัดขยะถูกวิธี แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง สามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้
4. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง


>