กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกรณีโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนนประจำปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกรณีโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนนประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน

นายเลอศักดิ์ จันทร์น้อย

พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11และ13ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังพวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

20.65
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

21.76
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

19.63
5 ประชาชนกลุ่มอายุ35 ปีขึ้นไปไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

 

1,336.00
6 ประชาชนกลุ่มอายุ35 ปีขึ้นไปไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

 

1,623.00

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาวะโรคโดยรวม จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก38ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ68ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก)ในปีพ.ศ. 2555 เป็น 41 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 71 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2559โดยกลุ่มโรค NCDs ที่พบการเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (17.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 44) รองลงมาคือโรคมะเร็ง (9.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (3.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9) และโรคเบาหวาน(1.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4) ซึ่งในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ในกลุ่มอายุ 30-69 ปีหรือเรียกว่า “การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร”มากถึง 15 ล้านคน โดยร้อยละ 85 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางโดยปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น กลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติ ของจำนวนการเสียชีวิต และภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูล ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2561 พบอัตราการเสียชีวิต อย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปีพ.ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกได้แก่ โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ได้ทำการค้นหา คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อเนื่องมาทุกปี ในปีงบประมาณ 2563 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน323 ราย และเสี่ยงสูง 25 ราย ที่ต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ 4 ราย และพบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน 189 ราย และเสี่ยงสูง 76 ราย พบป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 2 ราย จากการคัดกรองทั้งหมด แต่ก็ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตได้ครอบคลุมเป้าหมายทั้งหมด เนื่องจากประชาชนบางส่วนยังไม่มีความตระหนัก ดังนั้นเพื่อป้องกันควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้เกิดความตระหนักในการสร้างภูมคุ้มกัน เฝ้าระวัง และดูแลตนเองให้มีพฤติกรรมลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อผลักดันให้ประชาชนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีการเข้าคลินิค DPAC และส่งเสริมให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ 2 ส .และสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ลดปัจจัยเสี่ยงและอัตราเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง มีสุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเรื้องรังก็จะได้รับการดูแลตามมาตราฐานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

20.65 18.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

22.00 20.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

21.76 18.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

19.63 16.00
5 เพื่อคัดกรองความดันโลหิตสูงในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง

90.00 95.00
6 เพื่อคัดกรองเบาหวานในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรอง

90.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,623
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 805
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 615
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ไม่เป็นโรค

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ไม่เป็นโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าแถบ DTX และเข็มเจาะ ราคา 950/กล่อง จำนวน 17 กล่อง เป็นเงิน 16,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 1 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35  ปีขึ้นไป  ที่ไม่เป็นโรคได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ร้อยละ  90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16150.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.เป้าหมาย 84 คน แบ่งเป็น 3 รุ่น ๆ ละ 28 คน 1. โมเดลอาหาร ราคา ชุดละ 5,900 บาท
2. แบบบันทึกประจำตัวกลุ่มเสี่ยงจำนวน 104 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,120 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม และผู้จัดจำนวน 88 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงสูงร้อยละ 80  เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง 3.กลุ่มเสี่ยงลดลง 4.ไม่เกิดผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14820.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามวัดความดันที่บ้าน(Home BP)
  2. เจาะเลือดส่งตรวจ FBS
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ได้รับการติดตาม
  2. ค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ลดลง
  3. ระดับความดันโลหิตลดลง
  4. อัตราเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการเจาะLab ประจำปี ตรวจ fundus camera ตรวจเท้าด้วย monofilament test

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการเจาะLab ประจำปี ตรวจ fundus camera ตรวจเท้าด้วย monofilament test
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเจาะLab ประจำปี ตรวจ fundus camera ตรวจเท้าด้วย monofilament test ในผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการที่ รพ.สต.บ้านหัวถนน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนตาไตเท้า
  2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน ที่มีภาวะอ้วนลงพุง ให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.2ส. ใน คลิกนิก DPAC และติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน ที่มีภาวะอ้วนลงพุง ให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.2ส. ใน คลิกนิก DPAC และติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 วันๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม และผู้จัดจำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท x2 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ผู้ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน ที่มีภาวะอ้วนลงพุงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในคลินิก DPAC
  2. ร้อยละ 30 ของผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในคลินิก DPAC
  3. ภาวะอ้วนลงพุงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน ลดลงร้อยละ 10
  4. ค่า HbA1C ลดลงอยู่ในระดับควบคุมได้ ร้อยละ 45
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5100.00

กิจกรรมที่ 6 คัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90  ของผู้ป่วย ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง และรับรู้ระดับความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โดยการให้ความรู้รายกลุ่มและติดตามเยี่ยมบ้านเชิงรุกกลุ่ม เสี่ยงสูง (risk 20 – < 30 %)

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โดยการให้ความรู้รายกลุ่มและติดตามเยี่ยมบ้านเชิงรุกกลุ่ม เสี่ยงสูง (risk 20 – < 30 %)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 วันๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน1,800 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมจำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง(27คน)ได้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองถูกต้อง
  3. ระดับความเสี่ยงลดลง 1 ระดับ ร้อยละ 40
  4. ลดอัตราการเกิดโรคCVDรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,370.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชากรกลุ่มปกติได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงอย่างครอบคลุม กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจเลือดตรวจวัดความดันโลหิตซ้ำไม่เกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม กลุ่มป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ โรคไต และอาการอื่นๆ


>