2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่กำหนดไว้ในนโยบายระดับชาติ และเป็นปัญหาสาธารณสุข ซึ่งในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชน มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการป้องกันและควบคุมโรคให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สถานการณ์การระบาดในประเทศไทย สัปดาห์ที่32 ปี2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 44,403 ราย อัตราป่วย 66.97 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 32 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 และการกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 91.56 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ 72.54 ต่อประชากรแสนคน ภาคกลาง 49.25 ต่อประชากรแสนคน และภาคใต้ 44.42 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ(ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ,2563) อำเภอบันนังสตาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2563 อัตราป่วย 204.60 , 43.89 , 101.88 ,557.23 , 133.61 และต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา ,2563) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกคาดการณ์อาจจะมีการระบาดต่อเนื่องในปี 2564
ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มี 13 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกระจายทุกหมู่บ้าน ผู้ป่วยไข้เลือดออกปี2563 พบว่ามีอัตราป่วย 74.77 ต่อประชากรแสนคน สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตะบิงติงงี ตำบลตลิ่งชัน รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1, หมู่ 8, หมู่ 11 และหมู่ 13 พบผู้ป่วยทุกๆปี ตั้งแต่ปี2559 - 2563 พบว่า มีอัตราป่วย 106.74 ,42.48 ,42.17 ,627.48 ,250.20 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ(สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา, ,2563) โดย ปี 2563 พบว่าอัตราป่วยลดลงกว่า ปี 2562 แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง จึงทำให้ ปี 2564 มีโอกาสเกิดการระบาดต่อเนื่อง
ดังนั้นทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญปัญหาโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการแก้ไข จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564 สอดคล้องยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามกลวิธีเมืองน่าอยู่
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2021
กำหนดเสร็จ 31/08/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
2. แกนนำชุมชน แกนนำครอบครัว และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
3. ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง